ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยโดย แอนเดรียส ลินส์บาวเออร์ (Andreas Linsbauer) นักธรณีวิทยาชาวสวิส เขากล่าวว่า ปกติแล้วจะมีการวัดปริมาณน้ำแข็งบริเวณธารน้ำแข็งมอเทอราท (Morteratsch Glacier) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงปลายฤดูร้อน หรือช่วงปลายเดือนกันยายน เพื่อพิจารณาจากความแตกต่างของปริมาณหิมะที่ตกลงมาในฤดูหนาว และปริมาณน้ำแข็งที่ละลายในฤดูร้อน แต่เนื่องจากการละลายของธารน้ำแข็งที่รวดเร็วขึ้น ทำให้เขาต้องมาตรวจเช็คปริมาณธารน้ำแข็งล่วงหน้าสองเดือน และพบว่า น้ำแข็งลดลงไปอย่างมาก
น้ำมันโลก แนวโน้มเพิ่มขึ้น เหตุประท้วงในลิเบีย-นอร์เวย์-เอกวาดอร์ กระทบแหล่งผลิต
อินเดียระงับส่งออกข้าวสาลี ซ้ำเติมวิกฤตอาหารโลกจากสงครามยูเครน
ขณะที่ในปีนี้ ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ยุโรปเผชิญสภาพอากาศร้อนจัด อุณหภูมิพุ่งสูงเกิน 40 องศาฯ ทำให้เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ธารน้ำแข็งที่ภูเขามาร์โมลาดา บริเวณเทือกเขาแอลป์ในประเทศอิตาลีจึงละลายอย่างรวดเร็ว และถล่มลงมาคร่าชีวิตผู้คนไป 11 ราย
ขณะที่ ธารน้ำแข็งมอเทอราท (Morteratsch Glacier) เปลี่ยนไปอย่างมาก ลิ้นน้ำแข็งที่เคยยาวลึกลงไปในหุบเขา หดกลับลงไปเกือบ 3 กิโลเมตร และความลึกของหิมะและก้อนน้ำแข็งลดลงถึง 200 เมตร การละลายของธารน้ำแข็งอย่างรวดเร็วบนเทือกเขาแอลป์ สร้างความกังวลให้กับนักวิทยาศาสตร์ และผู้คนทั่วไป นักท่องเที่ยวชาวเบลเยียมรายนี้บอกว่า เธอรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเทือกเขานี้
"ทุกคนรู้ว่าโลกกำลังร้อนขึ้น แต่ต้องตระหนักว่านี่เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจจริงๆ โลกร้อนไม่ได้แสดงให้เห็นผ่านธรรมชาติเสมอไป รู้อีกทีก็ตอนเห็นมันเปลี่ยนไปแล้ว เราจะพูดว่า เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เราเคยมาที่นี่ แต่ตอนนี้หิมะก็หายไปแล้ว และแม่น้ำในภูเขาก็เหือดแห้งไปหมด ปกติเราต้องสวมหมวกและถุงมือ ตอนนี้ไม่ต้องแล้วเพราะอากาศร้อนขึ้น ใช่ค่ะ มันเปลี่ยนไปอย่างมาก"
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์กังวลว่า การละลายของธารน้ำแข็งอย่างรวดเร็วจะทำให้ ต้นไม้และพืชพรรณบนเทือกเขาแอลป์เพิ่มขึ้น
งานวิจัยล่าสุดของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เผยว่าพื้นที่ของต้นไม้และพืชพรรณสีเขียวในเทือกเขาแอลป์เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 77 ซึ่งจะยิ่งเร่งการละลายของหิมะ ส่งผลให้โลกสะท้อนแสงอาทิตย์ได้น้อยลง
ทั้งนี้ หิมะ นอกจากจะช่วยเติมน้ำแข็งที่สูญเสียไปในช่วงฤดูร้อน และปกป้องธารน้ำแข็งไม่ให้ละลายอย่างรวดเร็ว เพราะสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศได้ดีกว่าน้ำแข็ง
ในช่วงปีที่ผ่านมา ปัญหาธารน้ำแข็งละลายคือปัญหาใหญ่ สำคัญและเร่งด่วนที่สุดของมนุษย์ เนื่องจากธารน้ำแข็งเกือบทุกแห่งในยุโรป รวมถึงแอฟริกาและเอเชียกำลังหดหายไปในอัตราที่น่าเป็นห่วง
รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ IPCC เตือนว่า โลกจะสูญเสียปริมาณน้ำแข็งไปกว่าร้อยละ 80 ของระดับในปัจจุบันภายในปี 2100 หรือเร็วกว่านั้นหากยังไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ไฟป่าในอุทยานแห่งชาติโบฮีเมียนซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเยอรมนี เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกว่า 400 คนกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อควบคุมเพลิง ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ได้อพยพออกจากเมืองเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกัน ไฟป่าในเมืองคัลเลส ประเทศสเปน ที่เกิดไฟป่าตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงทำงานอย่างหนัก เนื่องจากอากาศร้อนจัดเป็นอุปสรรคต่อการดับเพลิง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ใหม่อีกครั้ง
นายกฯ ขอความร่วมมือภาคธุรกิจ ช่วยกันลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ผู้นำสหรัฐฯ ร้องประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลก ร่วมมือแก้โลกร้อน