หลังจากเครื่องบินของประธานสภาสหรัฐ แนนซี เพโลซีลงจอดที่สนามบินของกรุงไทเป เช้าที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ได้มีการเผยแพร่บทความของเธอ บอกถึงเหตุผลในการตัดสินใจเยือนไต้หวันครั้งนี้ โดยระบุว่า เพื่อแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ ยืนอยู่เคียงข้างไต้หวันในการปกป้องเสรีภาพของตนเอง หลังจากมีสัญญานหลายอย่างบ่งชี้ว่า จีนอาจใช้กำลังทางการทหารกับไต้หวัน
และเป็นการเยือนในวันที่บริบทความมั่นคงในภูมิภาคนี้กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสุ่มเสี่ยงที่ก่อให้เกิดกลายเป็นสงคราม
“แนนซี เพโลซี” เดินทางออกจากไต้หวันแล้ว มุ่งหน้าสู่เกาหลีใต้
“แนนซี เพโลซี” แจงเหตุผลชัด ๆ ทำไมต้องไปเยือนไต้หวันให้ได้?
หลายคนบอกว่าเธอทราบถึงความอ่อนไหว แต่ก็ตัดสินใจเดินทางมาและคนที่รู้จักเธอดีก็บอกว่า ไม่แปลกใจที่เธอตัดสินใจกระตุกหนวดมังกร
แนนซี เพโลซี ปัจจุบันอายุ 82 ปี เธอมาจากตระกูลที่ร่ำรวย สนใจการเมืองตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 1987 ในวัย 47 ปี
เธอเป็น ส.ส. เรื่อยมานับจากนั้น ก่อนจะได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัยติดต่อกัน
นี่คือหนึ่งในตำแหน่งทรงอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศ ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร เพโลซีคือคนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหากเกิดเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีไม่สามารถทำหน้าที่ได้
เพโลซี ได้ชื่อว่าเป็นผู้สนับสนุนไต้หวันคนสำคัญ เธอเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่เห็นด้วยนโยบายหลายอย่างของจีนโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน และไม่มีคราวใดที่จุดยืนของเธอจะชัดเจนไปกว่าคราวที่เธอเดินทางไปกรุงปักกิ่งเมื่อปี 1991 พร้อมกับเพื่อน ส.ส. ชายอีก 3 คน แนนซี่ เพโลซียืนถือป้ายอยู่หน้าจตุรัสเทียนอันเหมิน จุดที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนให้กำลังเข้าปราปรามกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี 1989 หรือ 3 ปีก่อนหน้านั้น และนี่คือคือภาพของเธอในวันที่ครบรอบเหตุการณ์ 30 ปีเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
เพโลซีขึ้นเวทีที่จัดขึ้นที่วอชิงตันดีซีประกาศประนามการกระทำของรัฐบาลจีนในเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า เป็นการทำลายจิตวิญญานของชาวจีนที่ต้องการประชาธิปไตย
อีกประเด็นที่เธองัดข้อกับจีนคือ สิ่งที่เกิดขึ้นที่เขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
ซินเจียงเป็นที่อยู่ขาวชาวอุยกูร์ราว 12 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม มีรายงานต่อเนื่องว่าจากองค์กรหลายแห่งว่า รัฐบาลกลางที่ปักกิ่งละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์อย่างหนัก โดยมีคนมากถึง 1 ล้านคน ถูกควบคุมตัวไว้ในค่ายกักกันหลายร้อยแห่ง และหลายแสนคนถูกบังคับใช้แรงงานในไร่ฝ้ายซึ่งเป็นผลผลิตหลักของภูมิภาคนี้
เพโลซีออกมาผลักดันอย่างแข็งขันให้มีการออก"กฎหมายป้องกันการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ หรือ Uyghur Forced Labor Prevention Act เพื่อตอบโต้จีน
ในการกล่าวต่อสภาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว เพโลซีโน้มน้าวบรรดาสมชิกรัฐสภาสหรัฐให้มีการผ่านกฎหมายนี้ ด้วยการพูดว่า หากคุณยืนหยัดปกป้องสิทธิมนุษยชนในจีนไม่ได้ เพียงเพราะผลประโยชน์ทางการค้า คุณก็หมดอำนาจที่ชอบธรรมในทางจริยธรรมทั้งหมด ที่จะพูดถึงสิ่งนี้ไม่ว่าที่ใดก็ตาม
ในที่สุด กฎหมายนี้ก็ผ่านสภา ก่อนที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนาม และมีผลให้กฎหมายที่ห้ามนำเข้าสินค้าจากภูมิภาคซินเจียงของจีนถูกบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สร้างความไม่พอใจให้กับจีนที่ออกมาประณามกฎหมายฉบับนี้
หากพิจารณาจากอุดมการณ์ทางการเมืองของเธอ การเยือนไต้หวันครั้งนี้ของแนนซี่ เพโลซี่คือการย้ำจุดยืนของเธอในการต่อต้านการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มองว่าเป็นการปกครองแบบไม่ชอบธรรมและเต็มไปด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การปรากฏกายของแนนซี เพโลซี บนเกาะไต้หวันจึงไม่ใช่แค่การเยือนต่างประเทศในฐานะบุคคลสำคัญเพียงอย่างเดียว หากยังตอกย้ำถึงแรงต่อต้านจีนอันแข็งขัน เมื่อผู้มาเยือนเป็นหนึ่งในบุคคลที่กระตุกหนวดมังกรมานานหลายสิบปี
เป็นความเดือดดาลที่มีเหตุผล ขณะเดียวกันแนนซี เพโลซีเองก็เป็นผู้สนับสนุนอธิปไตยของไต้หวันมานาน
อันที่จริงก่อนหน้านี้แม้แต่รัฐบาลสหรัฐเองก็ยอมรับว่า แผนการเยือนไต้หวันครั้งนี้ของแนนซีค่อนข้างสุ่มเสี่ยงและไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตามภาพดังกล่าวก็เกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นที่จับตาอย่างยิ่งว่าในอนาคตความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐจะเป็นอย่างไรต่อ ในวันที่นโยบายจีนเดียวเปลี่ยนไปมากจากวันที่สองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเคยตกลงกันไว้เมื่อ 50 ปีก่อน