นักพันธุศาสตร์ชาวสวีเดน สแวนต์ แพโบ (Svante Pääbo) ผู้อำนวยการสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อมานุษยวิทยาวิวัฒนาการในเมืองไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี และนักวิจัยกิตติมศักดิ์ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอน เป็นผู้ที่ได้รับ “รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์” สำหรับความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์โบราณ และไขความลับเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ได้สำเร็จหนึ่งเรื่อง
นักวิทย์ญี่ปุ่นไขปริศนาพันล้านปี “ชีวิต” มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ถอดรหัสพันธุกรรม “แมงกะพรุนอมตะ” กรุยทางสู่การยืดอายุขัยมนุษย์
ล้างทฤษฎีต้นกำเนิดมนุษย์เดิม! ฟอสซิลมนุษย์โบราณแอฟริกาใต้เก่าแก่กว่าที่คาด
คณะกรรมการโนเบลกล่าวว่า แพโบ “ทำสิ่งที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ได้สำเร็จ” โดยเขาจัดลำดับจีโนมมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) และเปิดเผยว่า มนุษย์ หรือ Homo sapiens มีการผสมพันธุ์กับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลในอดีต ซึ่งเป็นการเปิดเผยความลับครั้งใหญ่ที่ไม่มีใครรู้หรือยืนยันได้มาก่อน
การค้นพบของเขาถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในปี 2010 หลังจากที่แพโบเป็นผู้บุกเบิกวิธีการสกัด เรียงลำดับ และวิเคราะห์ดีเอ็นเอโบราณจากกระดูกมนุษย์ยุคหิน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเปรียบเทียบจีโนมมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกับพันธุกรรมของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้
คณะกรรมการโนเบลกล่าวว่า “การเปิดเผยความแตกต่างทางพันธุกรรมที่แยกมนุษย์ในปัจจุบันออกจากมนุษย์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ไม่เหมือนใคร”
แพโบพบว่า มนุษย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีดีเอ็นเอร่วมกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลอยู่ที่ 1-4% กับ ซึ่งหมายความว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลและมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ต้องเคยพบกันมาก่อนและมีลูกด้วยกันก่อนที่นีแอนเดอร์ทัลจะสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อน
แพโบยังมีผลงานในการสกัดดีเอ็นเอจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบในถ้ำเดนิโซแวนในไซบีเรีย ซึ่งเผยให้เห็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นไม่แพ้กัน โดยจีโนมที่เขาจัดลำดับแสดงให้เห็นว่า ดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณเดนิโซแวน เมื่อเปรียบเทียบพันธุกรรมกับมนุษย์สมัยใหม่ พบว่า ประชากรบางส่วนในเอเชียและเมลานีเซีย ได้รับดีเอ็นเอจากมนุษย์โบราณกลุ่มนี้มากถึง 6%
ร่องรอยทางพันธุกรรมบางส่วนที่เหลือจากมนุษย์โบราณ 2 กลุ่มนี้ มีความเกี่ยวข้องกับการแพทย์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ยีนจากมนุษย์โบราณเดนิโซแวนที่เรียกว่า EPAS1 มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเอาชีวิตรอดในพื้นที่สูง โดยเป็นยีนที่พบปกติในหมู่ชาวทิเบตในปัจจุบัน
แพโบยังพบว่า ดีเอ็นเอของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลอาจมีบทบาทเล็กน้อยในการรบกวนการติดเชื้อโควิด-19
เดวิด พาเตอร์สัน ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและประธานสมาคมสรีรวิทยาแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า “นี่เป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในการศึกษาชีววิทยาวิวัฒนาการ”
เขาเสริมว่า การระบุหน้าที่ทางสรีรวิทยาที่ดีเอ็นเอมนุษย์โบราณมีต่อยีนมนุษย์ปัจจุบัน เป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจเรื่องการปรับตัวของมนุษย์ให้ชินกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่สูง เมื่อประชากรเคลื่อนย้ายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ และความแตกต่างทางพันธุกรรมส่งผลต่อมนุษย์ในแต่ละวันในด้านสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างไร”
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก AFP