ส่องปรากฏการณ์ฝูงชนเบียดเสียดเหยียบกันตายครั้งใหญ่ทั่วโลก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เหตุฝูงชนเบียดเสียดจนเหยียบกันตาย เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีต ซึ่งแม้จะเกิดขึ้นต่างที่ต่างเวลา แต่ส่วนใหญ่มักจะมีปัจจัยแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน

ในช่วงโควิด-19 ที่มีการจำกัดการรวมตัวของผู้คน ทำให้โอกาสที่จะเกิดโศกนาฏกรรมในลักษณะนี้น้อยลงไปมาก แต่ล่าสุด ก็เกิดเหตุสลดซ้ำรอยอีกครั้ง ในย่านอิแทวอน แหล่งรวมสถานบันเทิงชื่อดังในกรุงโซล ของเกาหลีใต้

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล เปิดสายด่วนช่วยเหลือคนไทย

SM Entertainment ประกาศยกเลิกจัดงานปาร์ตี้ 'ฮาโลวีน'

หลายครั้งที่เราเห็นภาพข่าวคนเบียดเสียด หรือวิ่งหนีแตกตื่น จนมีคนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรามักจะเข้าใจว่าสาเหตุการเสียชีวิตของเหยื่อส่วนใหญ่มาจากการบาดเจ็บเพราะถูกเหยียบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่ จะเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ

สิ่งที่เรามองไม่เห็น คือ แรงมหาศาล ที่บีบอัดจนแม้แต่ทรวงอกของเราก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวเพื่อหายใจเข้า-ออกได้ หลายคนขาดใจตายทั้งที่ยังยืนอยู่ ส่วนคนที่ล้มลงไป ก็ถูกคนอื่น ๆ ล้มกดทับไปอีก จนไม่สามารถลุกขึ้นและหายใจได้ จากนั้นไม่นาน เลือดก็เริ่มไม่ไปเลี้ยงสมอง

จี. คีธ สติล ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยซัฟฟอล์ก ของอังกฤษ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า มันจะใช้เพียง 30 วินาที ก่อนที่คุณจะหมดสติ จากนั้นราว ๆ 6 นาที จะเข้าสู่ภาวะขาดอากาศหายใจเพราะถูกกดทับจากภายนอก ซึ่งนั่นคือสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง ไม่ใช่การถูกเหยียบ

ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีรายงานเหตุเหยียบกันที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในหลายประเทศ

ซาอุดีอาระเบีย เคยเกิดเหตุผู้แสวงบุญเหยียบกันตายระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ในนครเมกกะของซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี 2015 ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน โดยผู้แสวงบุญหลายคนอ้างว่าสาเหตุเพราะมีการปิดถนนเส้นหนึ่ง และเจ้าหน้าที่บริหารจัดการฝูงชนผิดพลาด 

อินโดนีเซีย เพิ่งจะเกิดเหตุชุลมุนเหยียบกันตายที่สนามฟุตบอลในเมืองมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กมากกว่า 40 คน 

โดยตำรวจพยายามจะยิงแก๊สน้ำตาเพื่อควบคุมแฟนบอลที่ลงมาในสนาม ทำให้ผู้ชมหลายคนตื่นตระหนกเหยียบกันตาย ขณะพยายามจะออกจากสนาม ซึ่งประตูทางออกแคบ และบางจุดก็ถูกปิดไว้ 

อินเดีย เมื่อปี 2013 เกิดเหตุเหยียบกันและจมน้ำตายช่วงเทศกาลทางศาสนาใกล้วัดในรัฐมัธยประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 115 คน โดยเหตุเกิดขณะที่ผู้คนราว 2 หมื่นคน อยู่บนสะพานข้ามแม่น้ำสินธุ และมีข่าวลือว่าสะพานอาจจะถล่ม

ไอโวรีโคสต์ เกิดเหตุฝูงชนเหยียบกันขณะที่ออกจากเขตพลาโต ในเมืองอาบีจาน หลังการแสดงดอกไม้ไฟฉลองปีใหม่ ในปี 2013 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 60 คน ในจำนวนนี้เป็นวัยรุ่นจำนวนมาก

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ