การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 27 ของปีนี้ ได้เริ่มเปิดฉากขึ้นแล้วเมื่อวานนี้ที่เมือง “ชาม เอล ชีค” (Sharm el-Sheikh) ประเทศอียิปต์
โดยประธานาธิบดี ซาเมห์ ชูกรี (Sameh Shoukry) ของอียิปต์ ได้แสดงความยินดีที่ตัวแทนประเทศต่างๆได้ตกลงร่วมกันที่จะหารือในเรื่องกลไกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศยากจนที่เผชิญกับความสูญเสีย และความเสียหายจากปัญหาโลกร้อน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประเด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมากลายเป็นประเด็นหลักในวาระการประชุมอย่างเป็นทางการ
กลับมาได้ไหม? ทวิตเตอร์วอนพนักงานที่ถูกปลดบางส่วนให้กลับมา
ทวิตเตอร์ เริ่มเก็บค่า "บลูมาร์ก" ยืนยันตัวตน
สำหรับการประชุม COP27 มีกำหนดการประชุมตั้งแต่วันที่ 6 - 18 พฤศจิกายนนี้ โดยคาดว่าความตึงเครียดส่วนใหญ่ของการประชุมดังกล่าวคือความสูญเสีย และความเสียหายจากภาวะโลกร้อน รวมถึงการจัดหาเงินทุนของประเทศร่ำรวยให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำ หรือประเทศยากจน
ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าวที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์เมื่อปีที่แล้ว เคยมีความพยายามผลักดันให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่ชดเชยความเสียหายให้แก่ชาติยากจน แต่ถูกประเทศร่ำรวยขัดขวางไว้
อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีอียิปต์ ยืนยันว่า การพูดคุยเกี่ยวกับเงินชดเชยให้ชาติยากจนในการประชุมปีนี้จะยังไม่มีผลผูกมัดใดๆ เพราะจุดประสงค์คือเพื่อเป็นการปูทางไปสู่การตัดสินในขั้นสุดท้ายไม่เกินปี 2024 อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเห็นใจ และความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเพราะปัญหาโลกร้อน
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ไทยติดเชื้อเฉลี่ยพุ่งเฉียด 400 เสียชีวิตวันละ 5 คน
วิจัยสหรัฐพบ ยา “แพกซ์โลวิด” ลดโอกาสเกิด “ลองโควิด” ได้
โลกกำลังวิกฤต! มีสภาพอากาศร้อนสุดในรอบ 8 ปี
ทั้งนี้นอกจากเวที COP 27 จะมีหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อนในระดับโลกแล้ว ก็ได้มีการเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลกฉบับใหม่เช่นเดียวกัน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วง 8 ปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา ซึ่งตรงนี้ถือเป็นข้อบ่งชี้ว่า ขณะนี้โลกกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต และอยู่ในภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ และการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นยังอยู่ไกลเกินเอื้อม
ทั้งนี้รายงานของ WMO ยังชี้ให้เห็นว่า ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในชั้นบรรยากาศกำลังทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และน้ำแข็งละลายทุบสถิติสูงสุดครั้งใหม่ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนอย่างมากตั้งแต่ปากีสถานไปจนถึงเปอร์โตริโก
ส่วนความเคลื่อนไหวที่เนเธอร์แลนด์มีรายงานว่า นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมหลายร้อยคน พร้อมใจกันสวมชุดขาวบุกเข้าไปในลานจอดเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว ที่อยู่ภายในสนามบินสคิปโฮล กรุงอัมสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป เพื่อขัดขวางไม่ให้เครื่องบินเจ็ตส่วนตัวหลายลำขึ้นบิน โดยความเคลื่อนไหวนี้ถือเป็นการประท้วงอุตสาหกรรมการบินที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษต่างๆ
ทั้งนี้จากข้อมูลของกลุ่มผู้ประท้วงชี้ให้เห็นว่า สนามบินแห่งนี้เป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งคิดเป็นปีละ 12,000 ล้านกิโลกรัม