“Gaslighting” คำแห่งปี 2022 สะท้อนยุคสมัยแห่งความลวงและการปั่นประแส


โดย PPTV Online

เผยแพร่




Merriam-Webster เปิดเผย “คำแห่งปี” ประจำปี 2022 คือคำว่า “Gaslighting” มีการค้นหาความหมายคำนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 1,740%

Merriam-Webster บริษัทสัญชาติอเมริกันที่จัดพิมพ์หนังสืออ้างอิง มีชื่อเสียงเป็นพิเศษในด้านพจนานุกรม และเป็นฐานข้อมูลด้านภาษาที่มีอายุยาวนานกว่า 180 ปี ได้ออกมาเปิดเผย “คำแห่งปี” ประจำปี 2022 โดยยึดจากคำที่ผู้คนค้นหาความหมายมากที่สุด

คำ ๆ นั้นก็คือ “Gaslighting” ซึ่งเป็นคำที่ยังไม่มีการบัญญัติอย่างเป็นทางการในไทย แต่ก็พอจะทับศัพท์ได้ว่า “แก๊สไลท์ติ้ง” เป็นคำที่มีการค้นหาเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 1,740%

เทรนด์ “คำค้นหา” บน “Google” เปลี่ยนไป ปัจจัยหลักคือ “โควิด-19”

คำค้นหายอดนิยมบน "Google" ของคนไทยปี 64 “โครงการเยียวยา-โควิด” ยังมาแรง

ที่สุดแห่งปี 2563 คำค้นหายอดฮิตในกูเกิล 10 เรื่องใหญ่ ที่คนไทยโฟกัส 'เราไม่ทิ้งกัน' มาแรง เปิดลิสต์...

แม้จะฟังดูเหมือนไฟหรือตะเกียงอะไรสักอย่าง แต่ Merriam-Webster ระบุว่า คำนี้มีความหมายว่า “การบงการทางจิตใจของบุคคลเป็นระยะเวลานาน ทำให้เหยื่อตั้งคำถามถึงความถูกต้องของความคิด การรับรู้ความเป็นจริง หรือความทรงจำ ของตนเอง และโดยทั่วไปจะนำไปสู่ความสับสน สูญเสียความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเอง เกิดความไม่แน่นอนของอารมณ์หรือความไม่มั่นคงทางจิตใจ”

พูดอย่างง่าย Gaslighting คือ “การกระทำหรือการปฏิบัติที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง” หรือในภาษาบ้าน ๆ คือการ” ปั่นประสาท” ให้เกิดความเข้าใจผิดเพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง โดยเริ่มมีการใช้คำนี้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000

ที่มาของคำนี้มาจากบทละคร Gaslighting ในปี 1938 ซึ่งเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่พยายามทำให้ภรรยาของเขาเชื่อว่าตัวเธอกำลังจะเสียสติ โดยฉากจำของ Gaslight คือ เขาแอบหรี่ไฟทำให้ภรรยาตกใจ แต่เขายืนยันกับภรรยาว่า ไฟไม่ได้หรี่ลง ทำให้เธอคิดว่าตัวเองเสียสติแล้วจริง ๆ

หากจะให้ยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของเรา มักมีการยกตัวอย่างในเรื่องของความสัมพันธ์ โดยเฉพาะในยามทะเลาะหรือมีปัญหากัน ประโยคว่า “คิดไปเองหรือเปล่า?” “อย่าทำให้เป็นเรื่องใหญ่ไห้มั้ย?” “เพราะว่าเธอเป็นแบบนี้ฉันเลยมีคนอื่น” เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของการ Gaslighting ทั้งสิ้น

Merriam-Webster กล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ Gaslighting ยังเป็นคำที่ถูกใช้เพื่ออธิบายการหลอกลวงและการชักใยต่าง ๆ ในสังคม เช่น ข่าวปลอม ทฤษฎีสมคมคิดต่าง ๆ ด้วย

ปีเตอร์ โซโคโลวสกี บรรณาธิการใหญ่ของ Merriam-Webster กล่าวว่า “มันเป็นคำที่แพร่หลายอย่างรวดเร็วในภาษาอังกฤษและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับผมและพวกเราหลายคน ... มันเป็นคำที่ถูกค้นหาทุกวันหลายครั้งตลอดทั้งปี”

เขาเสริมว่า ในปี 2022 มีเทคโนโลยี Deepfake และเว็บมืด มีรัฐซ้อนรัฐ (Deep State) และข่าวปลอม และมีการหลอกลวงมากมาย “ในยุคที่มีแต่ข้อมูลที่ผิด ยุคของข่าวปลอม ทฤษฎีสมคบคิด การปั่นกระแสในทวิตเตอร์ Gaslighting กลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงมากในยุคของเรา”

 

คอนเทนต์แนะนำ
ตารางฟุตบอลโลก 2022 วันพุธที่ 30 พ.ย. ช่องถ่ายทอดสดและอัปเดตผลบอลโลก
ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ กทม.พบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินค่ามาตรฐาน 3 เขต

 

นอกจาก Gaslighting แล้ว ยังมีคำยอดนิยมที่ผู้คนค้นหารองลงมา เช่น Oligarch (มหาเศรษฐี) ซึ่งคนค้นหามากขึ้นในช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากมีมหาเศรษฐีหลายคนถูกคว่ำบาตร รวมถึงคำว่า Omicron ซึ่งเป็นชื่อสายพันธุ์โควิด-19 ที่สร้างความหวาดกลัวให้กับทั้งโลก เป็นต้น

 

เรียบเรียงจาก Merriam-Webster / Al Jazeera

ภาพจาก Shutterstock

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ