เมื่อวานนี้ (4 ธ.ค.) ทางการอินโดนีเซียประกาศเตือนภัยระดับสูงสุดหลังจาก ภูเขาไฟเซเมรู (Semeru) ในจังหวัดชวาตะวันออกเกิดการปะทุ และขณะนี้ได้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อความปลอดภัยแล้วอย่างน้อย 2,000 คน
ด้านสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นรายงานว่า ควันและเถ้าถ่านจากการปะทุของภูเขาไฟเซเมรูได้พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสูงกว่า 15 กิโลเมตร และได้เฝ้าระวังความเป็นไปได้ที่จะเกิดสึนามิ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำอย่างมีนัยสำคัญที่จุดสังเกตการณ์ในญี่ปุ่นและต่างประเทศ
หวังดึงนักลงทุน! อินโดนีเซียเปิดประมูล “ขายหมู่เกาะ” ในเขตอนุรักษ์
ภูเขาไฟใหญ่สุดในโลก “เมานาโลอา” ปะทุครั้งแรกในรอบ 40 ปี
เด็กอินโดนีเซียวัย 5 ขวบรอดชีวิต หลังติดใต้ซากแผ่นดินไหว 2 วัน
หน่วยงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซีย (BNPB) แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมภายในรัศมี 8 กิโลเมตรของภูเขาไฟเซเมรู และระบุว่า ณ ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยประชาชน 1,979 คนถูกอพยพไปยังศูนย์พักพิง 11 แห่ง และทางการได้แจกจ่ายหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนแล้ว
ขณะที่กระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียกล่าวว่า การเดินทางทางอากาศยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ได้ประกาศไปยังสนามบินในภูมิภาค 2 แห่งเพื่อให้พวกเขาระมัดระวังในการบิน
ศูนย์ภูเขาไฟวิทยาและการบรรเทาผลกระทบทางธรณีวิทยาของอินโดนีเซีย (PVMBG) กล่าวในถ้อยแถลงว่า ภูเขาไฟเซเมรูเริ่มปะทุเมื่อเวลา 02:46 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันอาทิตย์ และได้ยกระดับการแจ้งเตือนภัยการปะทุของภูเขาไฟเป็นระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
เฮนดรา กูนาวาน หัวหน้าศูนย์ PVMBG กล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้น คาดว่าการปะทุของภูเขาไฟเซเมรูในครั้งนี้มีโอกาสที่จะมีแมกมาเกิดขึ้นมากกว่าการปะทุก่อนหน้านี้ในปี 2021 และ 2020
เซเมรูเป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะชวา ซึ่งการปะทุของมันค่อนข้างอันตราย ในการปะทุเมื่อปีที่แล้วก็คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 50 ราย และทำให้ประชาชนหลายพันคนต้องอพยพ
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก AFP