เยอรมันคือชาติในยุโรป ที่มีการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียมากที่สุด โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ โดยก่อนที่จะเกิดสงครามในยูเครน ปริมาณก๊าซกว่าร้อยละ 45 ที่ใช้ในเยอรมนีมาจากรัสเซียหลังจากที่สหภาพยุโรปคว่ำบาตร รัสเซียก็ตัดลงปริมาณการส่งก๊าซธรรมชาติให้กับเยอรมนีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะพลังงานปริมาณที่ตึงตัวนอกจากเรื่องปริมาณแล้ว ยังต้องเจอกับราคาพลังงานที่สูงมากขึ้นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนด้วย
“แมนยู” เบนเป้าเล็ง “เลเอา” แทน “กัคโป”
แมวน้ำแคสเปียน 2,500 ตัวตายปริศนา เกยตื้นชายฝั่งรัสเซีย
และสิ่งนี้กำลังกระทบไม่เพียงแต่ภาคครัวเรือนและธุรกิจเท่านั้น แต่ยังกระทบกับระบบสาธารณสุขด้วยโรงพยาบาลหลายแห่งในเยอรมนีอาจล้มละลาย ผลวิกฤตพลังงาน
ข้อมูลจากสหพันธ์โรงพยาบาลเยอรมันชี้ว่า ขณะนี้โรงพยาบาลแต่ละแห่งมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า โรงพยาบาลเวรัล โบนิฟาเตอุส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่รักษาและดูแลผู้ป่วยจิตเวช ด้านทอร์สเทน ดิมเมอร์ลิง ประธานฝ่ายปฏิบัติการของโรงพยาบาลระบุว่า ตอนนี้โรงพยาบาลต้องจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นถึง 6 ล้านยูโร หรือมากกว่า 10 เท่าของที่เคยจ่าย ซึ่งนั่นหมายความว่า งบประมาณที่โรงพยาบาลมีอยู่ หลักๆต้องใช้ไปกับการจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติ
สหพันธ์โรงพยาบาลเยอรมันระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งประสบกับปัญหาการเงินจนถึงขั้นล้มละลาย โดยเฉพาะหลังจากสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติระยะยาวที่โรงพยาบาลหลายแห่งเคยได้ราคาก๊าซที่ไม่แพงมากจะหมดลงในปลายปีนี้
ทั้งนี้ กว่าร้อยละ 90 ของโรงพยาบาลในประเทศใช้ก๊าซธรรมชาติ และประมาณร้อยละ 60 จ้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติอย่างเต็มที่ในช่วงฤดูหนาว ก่อนหน้านี้รัฐบาลกลางเยอรมันได้มีการผ่านมาตราการและจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ประสบปัญหา แต่หลายฝ่ายระบุว่า มาตรการนี้อาจไม่เพียงพอ และมีรายงานว่า ขณะนี้หลายโรงพยาบาลในเยอรมนีต้องเริ่มหาทางออกด้วยการหันไปใช้พลังงานทดแทนเพื่อมาเสริมหรือใช้แทนก๊าซธรรมชาติ เช่น พลังงานที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของพืชผักหรือ Mardh Gas
นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครน และทำให้สหภาพยุโรป ใช้มาตรการคว่ำบาตรตอบโต้ การส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมาที่ยุโรปก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นั่นก็คือลดลงถึงร้อยละ 75 จากวันละ 170 ล้านลูกบาศก์เมตรเหลือแค่ราว 40 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ปริมาณก๊าซที่น้อยลงจากรัสเซีย ด้านพลังงาน ทำให้ราคาพลังงานในสหภาพยุโรปพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสงคราม ราคาที่สูงขึ้นยังเป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงด้วย รวมถึงสภาวะเงินเฟ้อด้วย เงินยูโรอ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 20 ปี ในขณะที่เงินเฟ้อเฉลี่ยของเขตยูโรโซนอยู่ที่ร้อยละ 8.9 นั่นหมายความว่ายุโรปต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่เท่าเดิม
อีกประเทศหนึ่งที่ต้องเจอกับปัญหาคือฝรั่งเศส แม้จะไม่ได้มีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียสูงเท่าเยอรมัน แต่ก็ต้องเจอกับวิกฤตพลังงานเช่นเดียวกัน หลังจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หลายแห่งที่ปิดซ่อมไม่สามารถเปิดใช้งานได้ตามกำหนดจนรัฐบาลต้องออกมาประกาศว่า อาจต้องมีการระงับการจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว
โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในเมืองบรูซของฝรั่งเศส ปกติในฤดูหนาวแบบนี้ ทางโรงเรียนจะเปิดเครื่องทำความร้อนหรือฮีตเตอร์เพื่อให้อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 22 องศาเซลเซียส แต่ช่วงนี้เด็กๆต้องอยู่ให้ห้องที่เย็นกว่าที่เคย อุณหภูมิห้องของโรงเรียนในช่วงนี้จึงต้องปรับอยู่ที่ประมาณ 19 องศาเซลเซียส ขณะที่พื้นที่ส่วนกลางอุณหภูมิห้องอยู่ที่ 16 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการตัดกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม หลายคนบอกว่าอุณหภูมิแบบนี้หนาวเกินไป แต่หลายคนเข้าใจสถานการณ์และระบุว่า จำเป็นต้องปรับตัวท่ามกลางวิกฤตพลังงาน
รัฐบาลฝรั่งเศสเตรียมหยุดจ่ายไฟบางช่วงเวลาความพยายามในการปรับตัวด้วยการลดการใช้พลังงานแบบนี้เกิดขึ้นหลังจาก รัฐบาลฝรั่งเศสได้ออกมาแถลงว่า มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจมีความจำเป็นต้องหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าในสัปดาห์นี้ จะระงับการจ่ายในช่วง Peak Hours หรือช่วงที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงสุดเนื่องจากไม่สามารถเปิดใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปิดซ่อมได้ตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่ามาตรการนี้จะกระทบกับคนในวงกว้าง มากกว่าร้อยละ 60 ของประเทศ ฝรั่งเศส คือ ประเทศที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นหลัก สัดส่วนของพลังงานนิวเคลียร์ มีถึงร้อยละ 70 ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในประเทศ โดยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีอยู่ทั้งหมด 56 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หลายแห่งต้องมีการปิดเพื่อซ่อมแซมเตาปฏิกรณ์เนื่องจากครบระยะเวลาการซ่อมบำรุง และหลายโรงมีปัญหาทางเทคนิคพร้อมๆกัน จนกลายเป็นที่มาของการประกาศจากรัฐบาลว่าอาจต้องมีการตัดไฟ
นอกเหนือจากภาคครัวเรือนและสถานศึกษาแล้ว ภาคการผลิตของฝรั่งเศสก็ต้องเตรียมรับมือกับความเป็นไปได้ที่ไฟฟ้าจะดับด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โรงงานหลายแห่งต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงานเพื่อผลิตสินค้าในตอนกลางคืนเพื่อให้มีของเพียงพอในการส่งลูกค้า ทั้งนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงออกมาขอร้องไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก โดยผู้นำฝรั่งเศสพูดเรื่องนี้ระหว่างเยือนเมืองนิวออร์ลีนส์ของสหรัฐว่า สถานการณ์เช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องเตรียมแผนเพื่อรับมือหากเกิดขึ้นจริง
ผู้นำฝรั่งเศส ระบุด้วยว่า จะพยายามแก้ไขปัญหาอย่าระมัดระวังที่สุดเพื่อให้ประชาชนผ่านเวลาช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดของปีหน้าไปให้ได้ในวันที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถเดินหน้าการผลิตได้เต็มพิกัด นอกเหนือจากการตัดไฟฟ้าบางช่วงเวลาแล้ว รัฐบาลฝรั่งเศสระบุว่าอาจมีความจำเป็นต้องการเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกครั้งเป็นการชั่วคราวเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตด้านพลังงานที่กำลังเกิดขึ้น
ราคาทองวันนี้ 5 ธ.ค. ขยับขึ้น 50 บาท จับตาเริ่มเข้าสู่ขาขึ้น
สภาพอากาศวันนี้! ใต้ฝนตกหนักถึงหนักมาก เหนืออุณภูมิลดลงอีก กทม.เจอฝนเล็กน้อย