“ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืออะไร? ทำไมหลายคนตั้งตารอคอย ปีนี้มาค่ำคืน 14 ธ.ค.

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ชวนทำความรู้จักปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” ที่เวียนมาทุกเดือนธันวาคม คืออะไร? สำคัญแค่ไหน?

ช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่จะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids)” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป นักสังเกตการณ์ หรือหอดูดาวต่าง ๆ ล้วนรอคอย

โดยปี 2566 นี้ จะมาในช่วงคืนวันที่ 14 ธ.ค. เริ่มสังเกตได้เวลาประมาณ 20.00 น. จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 ธ.ค. 66

แน่นอนว่าอาจมีหลายคนที่ไม่รู้จักเจ้าฝนดาวตกเจมินิดส์นี้ และอาจสงสัยว่า มันคืออะไร สำคัญแค่ไหน ทำไมทุกคนถึงตั้งตารอกันทุกปีแบบนี้ วันนี้ นิวมีเดีย พีพีทีวี มีคำตอบมาฝาก

คอนเทนต์แนะนำ
ชวนชม "ฝนดาวตกเจมินิดส์" คืน 14 ถึงรุ่งเช้า 15 ธ.ค.66
ไขความลับของดวงดาว ฝนดาวตก ลางร้ายของจักรวาลจริงหรือ ?

ฝนดาวตกเจมินิดส์ AFP/STAN HONDA
ฝนดาวตกเจมินิดส์

เจมินิดส์เริ่มปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษที่ 1800s อย่างไรก็ตาม ในยุคนั้นสังเกตเห็นได้น้อยมาก มีเพียง 10-20 ดวงต่อชั่วโมงเท่านั้น ต่างจากในปัจจุบันที่กลายเป็นฝนดาวตกขนาดใหญ่ที่มีอัตราการตกราว 150 ดวงต่อชั่วโมง

เจมินิดส์ยังเป็นฝนดาวตกประเภทที่เรียกว่า “เชื่อถือได้ที่สุด” หรือพูดง่าย ๆ คือ “ไม่โดนเทแน่ ๆ ถ้าใครไปรอดู” และยังเป็นฝนดาวตกที่ดูง่าย เพราะความเร็วของดาวตกไม่มากนัก มีอัตราตกค่อนข้างมาก สามารถมองเห็นได้รอบทิศ

โดยฝนดาวตกเจมินิดส์มีลักษณะการตกกระจายทั่วท้องฟ้าจากจุด ๆ หนึ่งที่เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้น ๆ หรือดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกเจมินิดส์ ซึ่งมีจุดศูนย์กลางการกระจายใกล้กลุ่มดาวคนคู่ (เจมีไน)

หากใครต้องการชมเจมินิดส์ องค์การนาซา (NASA) แนะนำว่า ให้หาบริเวณที่ห่างไกลจากแสงไฟแสงสว่าง เตรียมถุงนอน ผ้าห่ม หรือเก้าอี้สนาม นอนหงายโดยเท้าหันไปทางทิศใต้ แล้วเงยหน้าขึ้นหรือนอนมองท้องฟ้า

คอนเทนต์แนะนำ
โต้ลมห่มหนาว นอนนับ “ฝนดาวตกเจมินิดส์" คืน 14 ธ.ค. นี้
อิสราเอลพบอาหารเหลือทิ้งพอเลี้ยง 3.5 ล้านคนนานหนึ่งปี

อีกหนึ่งคุณลักษณะเด่นของเจมินิดส์คือ มันเป็นฝนดาวตกที่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย แตกต่างจากฝนดาวตกส่วนใหญ่ที่มีต้นกำเนิดจากดาวหาง โดยมันมีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ซึ่งใช้เวลา 1.4 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ครั้ง

ดาวเคราะห์น้อยดวงดังกล่าวถูกค้นพบตั้งแต่ปี 1993 และนักดาราศาสตร์ เฟร็ด วิปเปิล เป็นผู้ได้ข้อสรุปว่า เจมินิดส์เกิดจาก 3200 เฟธอน

3200 เฟธอนมีวงโคจรเป็นวงรีคล้ายดาวหาง แต่เมื่อเฟธอนโคจรผ่านดวงอาทิตย์ จะไม่เกิดหางอย่างดาวหาง และสเปกตรัมของมันดูเหมือนดาวเคราะห์น้อยที่เป็นหิน

ชื่อเฟธอนนี้มีที่มาจากตัวละครหนึ่งในตำนานปกรณัมกรีก โดยเฟธอนเป็นคนขับราชรถเคลื่อนดวงอาทิตย์ของ เฮลิออส เทพแห่งดวงอาทิตย์

 

เรียบเรียงจาก NASA

ภาพจาก STAN HONDA / AFP

OR เตรียมผุด 'พีทีที สเตชั่น' แบบไม่ขายน้ำมัน คาดเสร็จปลายปี 2567

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

ฝุ่น PM 2.5 ลดลง! สมุทรสาครยังสีแดง เกินค่ามาตรฐานอีกกว่า 25 จังหวัด

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ