ข้อบังคับดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันศุกร์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่ออกแบบมา เพื่อลดขยะและเพิ่มการรีไซเคิล ซึ่งรวมถึงการห้ามใช้มีด ช้อน-ส้อม จานพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำลีแคะหู แก้วโฟม หลอดพลาสติก และลดการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นพลาสติก ข้อบังคับนี้เป็นไปตามคำสั่งของสหภาพยุโรปที่จำกัดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และมีเป้าหมายให้ผู้ก่อมลพิษรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองสร้าง
ฤดูหนาวที่ไม่หนาว! ยุโรปเผชิญคลื่นความร้อนรับปีใหม่
อียู สั่งปรับเงินเมตา 14,000 ล้านบาท หลังทำผิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล
นอกจากนี้ ผู้ผลิตบุหรี่จะต้องรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนไม่ให้ทิ้งก้นบุหรี่ในที่สาธารณะ แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าการเก็บกวาดก้นบุหรี่นั้นจะดำเนินการอย่างไร หรือมีค่าใช้จ่ายเท่าไร งานวิจัยชิ้นหนึ่งในแคว้นกาตาลุญญาของสเปน ระบุค่าใช้จ่ายในการเก็บกวาดก้นบุหรี่อยู่ที่ระหว่าง 12-21 ยูโร (430-760 บาท) ต่อคนต่อปี หรือรวมแล้วเป็นเงิน 1 พันล้านยูโร (ราว 36,000 ล้านบาท)
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกาตาลัน เสนอมาตรการก้นบุหรี่แลกเงิน ที่ชิ้นละ 20 เซนต์ (7 บาท) ซึ่งจะทำให้ราคาบุหรี่ที่ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ยูโร (180 บาท) สำหรับบุหรี่ซอง 20 มวน แพงขึ้นอีก 4 ยูโร แต่มาตรการนี้ยังไม่มีการประกาศใช้ ทั้งนี้ เชื่อว่าบริษัทบุหรี่จะผลักต้นทุนดังกล่าวไปยังผู้บริโภค ซึ่งก็จะกลายเป็นแรงจูงใจอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้เลิกสูบหรี่
ข้อมูลสถิติของรัฐบาลปีที่แล้ว ระบุว่า ประชากรสเปนที่สูบบุหรี่มีสัดส่วนประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ค่าเฉลี่ยประชากรในอียูที่สูบบุหรี่อยู่ที่ 18.4 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าผู้สูบบุหรี่จะมีจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุน้อย แต่ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับการเพิ่มความเข้มงวดในการจำกัดการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
ผลสำรวจโดยสมาคมเวชศาสตร์ครอบครัวพบว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม เห็นด้วยกับการจำกัดการสูบบุหรี่มากขึ้น ขณะที่ 72 เปอร์เซ็นต์สนับสนุนการห้ามสูบในพื้นที่ด้านนอกของบาร์และร้านอาหาร ก้นบุหรี่เป็นหนึ่งในปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ทั่วโลกเผชิญมากที่สุด โดยก้นบุหรี่แต่ละชิ้นใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการย่อยสลาย และยังปล่อยสารพิษเช่น ตะกั่ว และสารหนูด้วย สเปนได้ประกาศให้ชายหาดราว 500 แห่ง เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ เพื่อลดจำนวนก้นบุหรี่ที่ลงสู่ทะเล และส่งเสริมสุขอนามัย