ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า LHS 475 b อยู่ห่างจากโลกเพียง 41 ปีแสง และมีขนาดเกือบเท่าโลก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าโลกเพียง 1% โดยมาร์ก แคลมปิน ผู้อำนวยการฝ่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ประจำสำนักงานใหญ่องค์การนาซา ระบุว่า กล้องเจมส์เวบบ์ ทำให้เราเข้าใจโลกที่อยู่ระบบสุริยะของเราที่มีลักษณะคล้ายโลกมากขึ้นเรื่อยๆ และภารกิจนี้เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
พบเพิ่มอีกดวง! ดาวเคราะห์ที่มนุษย์อาจไปอาศัยอยู่ได้
หลักฐานเคยมีแหล่งน้ำ ยานสำรวจนาซา พบ “โอปอล” บนดาวอังคาร
ก่อนหน้านี้ ดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ หรือเทสส์ (TESS) ของนาซา เคยบอกใบ้ถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงนี้เอาไว้ จนในที่สุดก็ได้รับการยืนยันโดยภาพสเปกโตกราฟความถี่อินฟราเรดย่านใกล้ของกล้องเจมส์เวบบ์
แม้ว่าจะมีขนาดเกือบเท่าโลก แต่ LHS 475 b มีอุณหภูมิสูงกว่าโลก 200-300 องศา ขณะที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชั้นบรรยากาศหรือไม่และมีองค์ประกอบอย่างไร โดยจะมีการสังเกตการณ์เพิ่มเติมในช่วงกลางปีนี้
จาค็อบ ลุสติก-แยเกอร์ นักวิจัยปริญญาเอกประจำห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ บอกว่า มีบรรยากาศบางประเภทที่เราสามารถตัดออกไปได้เลยคือ มันไม่สามารถมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยมีเทนหนาแน่น เหมือนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์
กล้องโทรทรรศน์เจมส์เวบบ์ มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2021 และส่งภาพกลับมาครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ซึ่งเป็นภาพของจักรวาลในยุคเริ่มต้นที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากนั้น กล้องเจมส์เวบบ์ก็ได้ถ่ายภาพกลุ่มของกาแล็กซี 5 แห่ง ทีมีชื่อว่า “สเตฟานควินเตต (Stephan's Quintet)" ในกลุ่มดาวเพกาซัสห่างจากโลก 290 ล้านปีแสง
"เนบิวลาคารินา (Carina nebula)" แหล่งกำเนิดและแหล่งอนุบาลดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมหาศาลที่ก่อนหน้านี้มองไม่เห็นมาก่อน และกาแล็กซีที่มีแถบดวงดาว ซึ่งเป็นกลุ่มดาวฤกษ์ที่เป็นทางยาวจนถึงวงนอกของกาแล็กซี