ชายที่ถูกสั่งประหารมีชื่อว่า อาลีรีซา อัคบารี อายุ 61 ปี อดีตรมช.กลาโหมของอิหร่านในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโมฮัมหมัด คาตามี ช่วงปี 2000-2005
การประหารใช้วิธีการแขวนคอแบบที่อิหร่านใช้กับเคสอื่นๆ แต่ไม่ได้เผยรายละเอียดออกมาว่าเกิดขึ้นในวันเวลาใดทางการเพียงรายงานสั้นๆว่าได้ประหารชีวิตอัคบารีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ข้อกล่าวหาที่รัฐบาลอิหร่านใช้ในการดำเนินคดีกับอัคบารีจนนำมาสู่การตัดสินโทษประหารชีวิตคืออ้างว่า ชายคนนี้เป็นสายลับคนสำคัญที่คอยส่งข้อมูลให้กับหน่วยงาน MI6 ของสหราชอาณาจักร
อิหร่าน ประหารชีวิต 2 ผู้ประท้วง ต้านรัฐบาล
กองทัพเรือสหรัฐฯ ยึด AK-47 กว่า 2,000 กระบอก คาดส่งให้กลุ่มกบฏเยเมน
ซึ่งเป็นหน่วยข่าวกรองแบบเดียวกับ CIA ของสหรัฐฯ รวมถึงอัคบารีได้รับเงินมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 65 ล้านบาทเพื่อแลกกับข้อมูล
รวมถึงสื่ออิหร่านยังระบุด้วยว่า การกระทำของอัคบารีมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลอบสังหาร โมห์เซน ฟากรีซาเดห์ นักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน ที่ถูกลอบโจมตีในปี 2020 และในตอนนั้นอิหร่านเชื่อว่า สหรัฐฯ และอิสราเอลเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
สำนักข่าวรอยเตอร์สพูดคุยกับ รามิน ฟอร์กานี หลานชายของอัคบารี ซึ่งเล่าว่าทางครอบครัวรู้สึกตกใจและเสียใจอย่างมากเมื่อได้ทราบข่าวการประหารชีวิต
และในความคิดเห็นของฟอร์กานีเองมองว่า ความตายที่เกิดขึ้นกับคุณลุงของเขานั้นเป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ เพราะเท่าที่รู้จักคุณลุงมา เขาไม่เชื่อว่าอัคบารีจะขายข้อมูลประเทศให้กับต่างชาติตามข้อกล่าวหา
ในช่วงบั้นปลายชีวิต อัคบารีพำนักอยู่ในอังกฤษ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ อัคบารีมักได้รับเชิญให้ไปบรรยายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก รวมถึงประเด็นอาวุธนิวเคลียร์บ่อยครั้ง ก่อนที่ตัวเขาจะมีธุระให้กลับไปยังอิหร่านในปี 2019 ส่งผลให้เขาถูกจับกุมในบ้านเกิด และอีกราว 3 ปี ถัดมาก็ถูกประหารชีวิต
ช่วงที่ถูกจับกุม รัฐบาลของสหราชอาณาจักรพยายามร้องขอให้อิหร่านปล่อยตัวอัคบารีแต่ไม่เป็นผล
มีข้อมูลบ่งชี้ว่าคดีนี้มีเงื่อนงำลึกลับมากกว่าที่คิด รายงานจากสำนักข่าวบีบีซีภาคภาษาเปอร์เซียเผยแพร่คลิปวิดีโอสุดท้ายของอัคบารีไม่กี่วันก่อนที่จะถูกประหารชีวิต ซึ่งเจ้าตัวเล่าว่า ที่ผ่านมาเขาถูกทรมานทั้งร่างกายและจิตใจให้ยอมรับสารภาพในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ทำ
หลังข่าวการประหารชีวิตถูกเผยแพร่ออกมา หลายฝ่ายไม่พอใจ นี่คือภาพหน้าสถานทูตอิหร่านในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมาพบกราฟฟิตีพ่นเป็นตัวอักษรอาหรับอยู่ที่กำแพงสถานทูต บรรดานักการเมืองอังกฤษเองก็แสดงความไม่พอใจผ่านโซเชียลมีเดีย
ตัวอย่างจากบัญชีทวิตเตอร์ของเจมส์ เคลเวอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษระบุว่า สหราชอาณาจักรขอประกาศคว่ำบาตรอัยการสูงสุดของอิหร่าน เพื่อประณามการประหารชีวิตอัคบารี ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อีกเสียงประณามมาจากบัญชีทวิตเตอร์ของ เจน ฮาร์ทเลย์ เอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหราชอาณาจักร ระบุว่า การกระทำของรัฐบาลอิหร่านนั้นป่าเถื่อน และตัวเธอขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของอัคบารีมา ณ ที่นี่
ด้านริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรออกมากล่าวว่า ตัวเขารู้สึกตกใจกับคำสั่งประหารชีวิตพลเมืองอิหร่านและอังกฤษ
การกระทำนี้เป็นสิ่งที่ขี้ขลาดและจิตใจคับแคบ อีกทั้งยังเป็นความป่าเถื่อนที่ไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน
หลายฝ่ายมองว่า การประหารชีวิตอัคบารีเป็นสิ่งที่อิหร่านต้องการโต้ตอบอังกฤษ เนื่องจากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างสองชาตินี้ย่ำแย่ลง
สาเหตุหนึ่งคือมาจาก ความค้างคาต่อความพยายามรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ ที่ทำขึ้นในปี 2015 เพื่อหยุดยั้งอิหร่านในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ก่อนที่สหรัฐฯ จะถอนตัวไปในสมัยของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ และปัจจุบันประธานาธิบดีโจ ไบเดน พยายามรื้อฟื้นให้ข้อตกลงนี้กลับมาอีกครั้ง
ภายใต้เงื่อนไขล่าสุดที่อิหร่านส่งข้อเรียกร้องให้ชาติตะวันตกพิจารณาเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าทั้งสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนีระบุว่า เป็นข้อเรียกร้องที่มากเกินไปและพวกเขาไม่อาจยอมรับได้
อีกประเด็นคือสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่บรรดาพันธมิตรชาติตะวันตกต่างส่งอาวุธสนับสนุนยูเครน ในขณะที่อิหร่านถูกหน่วยงานความมั่นคงของยูเครนอ้างว่า พวกเขาลักลอบส่งโดรนสนับสนุนรัสเซีย
และปัจจัยสุดท้ายที่สร้างแรงตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตกมาจากการประท้วงที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่ผ่านมา
จุดเริ่มต้นจากการจับกุมผู้หญิงคนหนึ่งที่สวมฮิญาบไม่เรียบร้อยและต่อมาเธอเสียชีวิตระหว่างการคุมขังของเจ้าหน้าที่ จุดประกายให้คนจำนวนมากออกมาประท้วงและประเด็นได้ลุกลามจากสิทธิการแต่งกาย สิทธิผู้หญิง ไปจนถึงการเรียกร้องให้ผู้นำลาออก
อิหร่านใช้ความรุนแรงโต้กลับผู้ประท้วง มีคนจำนวนหนึ่งบาดเจ็บและตาบอกจากการถูกกระสุนยางยิง นอกจากนั้นจำนวนผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงระหว่างประท้วงก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่า 500 คนแล้ว
ขณะที่มีผู้ประท้วงถูกสั่งประหารไปแล้วอย่างน้อย 18 ราย การใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับผู้ประท้วงในอิหร่านอย่างต่อเนื่องทำให้ชาติตะวันตกพากันประณามในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ปัจจุบันอิหร่านเป็นประเทศอันดับสองที่ประหารชีวิตคนมากที่สุดในแต่ละปี เป็นรองแค่จีนเท่านั้น