มลพิษพลาสติกทั่วโลก ลดลงได้ถึง 80% ในปี 2040


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สหประชาชาติ เชื่อว่ามลพิษพลาสติกทั่วโลกจะลดลงได้ถึง 80% ในปี 2040 หากประเทศต่างๆ ส่งเสริมรีไซเคิล-ใช้ซ้ำ

โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ หรือ UNEP ได้เผยแพร่รายงานก่อนที่การประชุมระดับนานาชาติเพื่อแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติกจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยรายงานดังกล่าวได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการ การปลี่ยนผ่านของระบบตลาด และ นโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาพลาสติก

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : เปิดโหวตเสียงประชาชน #3 เห็นด้วยหรือไม่ ส.ว. ควรโหวตเลือกนายกฯ ตามเสียงข้างมากของ ส.ส.
คำพยากรณ์ "วันพืชมงคล 2566" น้ำท่าบริบูรณ์ คมนาคมสะดวก ค้าขายรุ่งเรือง
ตรวจหวยงวดนี้ - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ลอตเตอรี่ 16/5/66

รายงานดังกล่าว ระบุว่า การนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด โดยควรส่งเสริมทางเลือกต่างๆ เช่น การใช้ขวดที่เติมน้ำหรือของเหลวซ้ำได้หลายครั้ง

และใช้มาตรการเก็บเงินมัดจำเพื่อจูงใจให้คนนำผลิตภัณฑ์พลาสติกลับมาคืน ซึ่งรายงานฉบับนี้มั่นใจว่าวิธีการเช่นนี้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบตลาดได้เป็นอย่างมาก จนทำให้มลพิษทางพลาสติกลดลงไปได้ 30 เปอร์เซนต์

ขณะที่การยกระดับการรีไซเคิลจะช่วยให้มลพิษพลาสติกลดลงได้อีก 20 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่การรีไซเคิลขยะพลาสติกทั่วโลกมีระดับเพียง 9 เปอร์เซนต์ต่อปี โดยพลาสติกที่เหลือถูกนำไปจำกัดด้วยการฝังกลบ หรือ ถูกเผาทิ้ง

อีกวิธีการที่รายงานฉบับนี้แนะนำคือการปรับลดเงินอุดหนุนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีราคาถูก จึงเป็นการจำกัดแรงจูงใจในการใช้วัสดุทางเลือกอื่นๆ ซึ่งคาดว่าวิธีการต่างๆที่รายงานฉบับนี้แนะนำน่าจะช่วยให้มลภาวะพลาสติกลดลงไปเมื่อถึงปี 2040

การระเบิดครั้งใหญ่ในอวกาศ เกิด “ลูกไฟขนาดใหญ่กว่าระบบสุริยะ 100 เท่า”

“อาถรรพ์สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา” เป็นแค่เรื่องของ “ความน่าจะเป็น” ?

โดยค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามรายงานฉบับนี้จะอยู่ที่ปีละ 65,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท แต่หากสามารถเปลี่ยนผ่านระบบเศรฐกิจไปสู่การใช้พลาสติกซ้ำหลายครั้งและการรีไซเคิลได้สำเร็จ ทั่วโลกจะประหยัดเงินได้มากกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 100 ล้านล้านบาทเมื่อถึงปี 2040 เนื่องจากประเทศต่างๆจะสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบต่างๆที่เกิดจากพลาสติก ที่นำไปสู่ปัญหาในหลายด้านๆทั้งโลกร้อน ปัญหาสุขภาพ การปนเปื้อนในน้ำ และ อากาศ

อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน (Inger Andersen) ผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ เตือนว่าวิธีการที่มนุษย์ผลิต ใช้งาน และจัดการขยะพลาติกในปัจจุบันได้สร้างมลพิษให้กับระบบนิเวศวิทยาต่างๆ

โดยแอนเดอร์เซน มั่นใจว่าหากประเทศต่างๆปฏิบัติตามโรดแมปนี้ รวมไปถึงผลการเจรจาต่างๆเกี่ยวกับปัญหาพลาสติก จะก่อให้เกิดประโยชน์ขนานใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

คอนเทนต์แนะนำ
สรุปเหรียญ ซีเกมส์ 2023 ล่าสุด ประจำวันอังคารที่ 16 พ.ค. 66
ปฏิทินวันหยุดเดือนพฤษภาคม 2566 วันหยุดราชการ-ธนาคาร วันไหนบ้าง
"ทักษิณ" ชี้ "เพื่อไทย" แพ้กระแส ถูกไอโอ "ก้าวไกล" ปั่น ยัดร่วมรัฐบาล 2 ลุง

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ