พบหลักฐาน มนุษย์รู้จัก “การจูบ” ตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมีย 4,500 ปีก่อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิจัยพบหลักฐานใหม่ยุคเมโสโปเตเมีย บ่งชี้ว่า มนุษย์รู้จัก “การจูบ” ตั้งแต่เมื่อ 4,500 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย

“การจูบ” เป็นหนึ่งในกิริยาเพื่อแสดงความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรัก ความใคร่ ความนับถือ การขอบคุณ หรือการทักทาย แตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม ขณะที่ในบางสังคมการจูบก็ไม่ได้เป็นเรื่องประจำวันขนาดนั้น

แต่ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีแล้ว เรื่องของการจูบถือเป็นหนึ่งในปริศนาสำคัญที่ยังคงอยู่ระหว่างการหาคำตอบว่า วัฒนธรรมการจูบเพื่อแสดงความรักหรือความรู้สึกนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด?

คอนเทนต์แนะนำ
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
เช็กปฏิทินเดือนมิถุนายน 2566 มีวันหยุดราชการ-ธนาคาร ตรงกับวันไหนบ้าง
เลือกตั้ง 2566 : เลือกตั้งใหม่นครปฐม "ก้าวไกล"คะแนนนำ แต่ไล่ไม่ทัน

 

 

การวิจัยก่อนหน้านี้ตั้งสมมติฐานว่า หลักฐานแรกสุดของการจูบปากกันระหว่างของมนุษย์ มีต้นกำเนิดในเอเชียใต้เมื่อ 3,500 ปีก่อน แล้วจึงแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ

แต่งานวิจัยล่าสุดของ ดร.โทรเอลส์ แพงก์ อาร์โบลล์ และ ดร.โซฟี ลุนด์ ราสมุสเซน พบหลักฐานใหม่ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียยุคแรกสุดว่า การจูบถือเป็นวิธีปฏิบัติที่มีอยู่แล้วเมื่อ 4,500 ปีก่อนในตะวันออกกลาง

นั่นหมายความว่า การจูบนี้มีขึ้นตั้งแต่เมื่ออย่างน้อย 4,500 ปีมาแล้ว และเชื่อว่าในความเป็นจริงอาจเกิดขึ้นเร็วกว่านั้นอีก แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน

ทหารผ่านศึกพิชิตเอเวอเรสต์สำเร็จ แม้ขาขาดทั้งสองข้าง

ไอร์แลนด์ไฟเขียว "แต่งงานเพศเดียวกัน" ที่แรกของโลก

สำรวจถิ่น "ค้างคาว" ทั่วโลก ระเบิดเวลาโรคระบาดใหม่

อาร์โบลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การแพทย์ในเมโสโปเตเมีย กล่าวว่า “ในเมโสโปเตเมียโบราณ ซึ่งเป็นชื่อเรียกวัฒนธรรมของมนุษย์ยุคแรกที่อยู่ระหว่างแม่น้ำยูเฟรตีสและไทกริสในอิรักและซีเรียในปัจจุบัน ผู้คนเขียนบันทึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มบนแผ่นดินเหนียว แผ่นดินเหนียวเหล่านี้จำนวนมากอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ และมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า การจูบถือเป็นส่วนหนึ่งของความใกล้ชิดแบบโรแมนติกในสมัยโบราณ และอาจเป็นส่วนหนึ่งของมิตรภาพและความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว”

เขาเสริมว่า “การจูบไม่ควรถูกมองว่าเป็นประเพณีที่มีต้นกำเนิดเฉพาะในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งและแพร่กระจายจากที่นั่น แต่ดูเหมือนจะได้รับการปฏิบัติในวัฒนธรรมโบราณหลายแห่งมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว”

ด้านราสมุสเซนกล่าวเสริมว่า “ในความเป็นจริง การวิจัยเกี่ยวกับโบโนโบและลิงชิมแปนซี ซึ่งเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดกับมนุษย์ ได้แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองสปีชีส์มีพฤติกรรมของการจูบเช่นกัน ซึ่งอาจบ่งชี้ว่า การจูบเป็นพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ อธิบายได้ว่าทำไมจึงสามารถพบการจูบได้ในทุกวัฒนธรรม”

นอกจากความสำคัญต่อพฤติกรรมทางสังคมและทางเพศแล้ว การจูบอาจมีบทบาทโดยไม่ได้ตั้งใจในการแพร่เชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจทำให้ไวรัสบางชนิดแพร่กระจายระหว่างมนุษย์ได้ด้วย

ตัวอย่างเช่น ไวรัสเริมชนิดซิมเพล็กซ์ 1 นั้น นักวิจัยมองว่า กระบวนการแพร่ระบาดอาจถูกเร่งให้เร็วขึ้นผ่านการจูบ อาร์โบลล์กล่าวว่า “มีตำราทางการแพทย์จำนวนมากจากเมโสโปเตเมีย ซึ่งบางส่วนกล่าวถึงโรคที่มีอาการคล้ายกับไวรัสเริม 1”

เขาเสริมว่า “เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะสังเกตความคล้ายคลึงกันระหว่างโรคที่รู้จักกันในชื่อ บูชานู ในตำราทางการแพทย์โบราณจากเมโสโปเตเมีย กับอาการที่เกิดจากการติดเชื้อเริม โรคบูชานูมักพบในหรือรอบ ๆ ปากและคอ โดยอาการที่มักพบคือ เป็นตุ่มหรือเม็ดพุพองในหรือรอบๆ ปาก ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของการติดเชื้อเริม”

 

เรียบเรียงจาก Phys.org

ภาพจาก AFP

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : “ก้าวไกล” แจงแนวทางผลักดันนโยบาย ผ่านวาระร่วม-วาระเฉพาะ
เช็กสิทธิ! เปิดสมัครสอบครูผู้ช่วย ปี 2566
MOU คืออะไร? ทำไมกลายเป็นเงื่อนไขในการจัดตั้งรัฐบาล

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ