กองทัพสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินขับไล่ F-22 แรพเตอร์ ประจำการตะวันออกกลาง

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กองทัพสหรัฐฯประกาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-22 แรพเตอร์ ไปประจำการในตะวันออกกลางเพื่อรับมือกับเครื่องบินรบรัสเซียที่แสดงพฤติกรรมคุกคามเครื่องบินรบสหรัฐฯ ที่ปฏิบัติภารกิจในภูมิภาคดังกล่าว

พลเอก ไมเคิล เอริก คูริลลา ( Michael “Erik” Kurilla) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯภาคกลาง (CENTCOM) ซึ่งดูแลพื้นที่ตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และ บางส่วนของเอเชียใต้ ระบุในแถลงการณ์ว่า รัสเซียได้ละเมิดมาตรการป้องกันความขัดแย้งในน่านฟ้าอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดสถานการณ์ที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือ ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้น

“ปูติน” เผยพร้อมเจรจา หากชาติตะวันตกหยุดส่งอาวุธ

“แวกเนอร์” เผย ยังไม่แน่ใจว่าจะรบต่อในยูเครนหรือไม่

โดยการประกาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-22 แรพเตอร์ ไปประจำการในตะวันนออกกลางมีขึ้นหลังจากที่กองทัพสหรัฐฯต้องเผชิญกับพฤติกรรมคุมคามจากเครื่องบินรบรัสเซีย

สหรัฐฯ กล่าวหาว่า ทำการบินในลักษณะที่ไม่ปลอดภัยและไม่เป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะในพื้นที่ทั้งในและนอกประเทศซีเรีย ซึ่งกองทัพสหรัฐฯยังปฏิบัติภารกิจกำจัดแนวร่วมกลุ่มไอเอสที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ระบุว่า เครื่องบินรบรัสเซียพยายามบินเข้าหาเครื่องบินรบสหรัฐฯ ในระยะประชิด ระหว่างการบินเหนือท้องฟ้าซีเรียหลายครั้ง

ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ผู้นำเบลารุส ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางเหนือของยูเครน แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ว่า ทางการเบลารุสเริ่มได้รับอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีที่ส่งมาจากรัสเซียแล้ว และพร้อมที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์เหล่านี้ โดย ลูคาเชนโก ระบุว่า อาวุธนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งมีแสนยานุภาพร้ายแรงกว่าระเบิดปรมาณูของสหรัฐฯ ที่นำไปถล่มเมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น เมื่อปี 1945 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 3 เท่า

 

อาวุธนิวเคลียร์ชุดแรกที่รัสเซียส่งมาให้แก่เบลารุส อย่างเช่น หัวรบนิวเคลียร์ และอาวุธนิวเคลียร์พิสัยใกล้ ซึ่งสามารถถูกนำไปใช้ในสมรภูมิรบนั้นถือเป็นการส่งอาวุธนิวเคลียร์ไปนอกพรมแดนรัสเซียเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่อดีตสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991

นอกจากนี้ ลูคาเชนโก ซึ่งเป็นพันธมิตรของ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียประกาศว่าเบลารุสพร้อมเข้าร่วมรบในสมรภูมิยูเครนหากประเทศตกเป็นเป็นเป้าหมายของการคุกคาม และ ยืนยันว่าขณะนี้เบลารุสมีศักยภาพมากพอทื่จะตอบโต้การแทรกแซงไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม

ขณะที่ นาย ปีเตอร์ ซียาร์โต ( Peter Szijjarto ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฮังการี อีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านของยูเครน ให้ความเห็นว่าสงครามอาจยุติลงได้ หาก อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย.ปีหน้า

ซียาร์โตตั้งข้อสังเกตว่าระหว่างที่ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รัสเซียไม่เคยโจมตีประเทศใดเลย และสงครามในยูเครนคงไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากทรัมป์ เอาชนะ โจ ไบเดน ในการเลืกตั้งเมื่อปี 2020

ท่าทีของ ซียาโจ สอดคล้องกับจุดยืนของ นายกรัฐมนตรี วิคตอร์ ออบัน ผู้นำฮังการี ที่ไม่เห็นด้วยกับการที่ชาติตะวันตกส่งอาวุธช่วยยูเครน เนื่องจากมองว่าเป็นไปไม่ได้ที่ยูเครนจะเอาชนะรัสเซีย ซึ่งสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสหรัฐฯและรัสเซียบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ที่ผ่านมา ฮังการีปฏิเสธที่จะตัดความสัมพันธ์กับรัสเซีย แม้ฮัวการีจะเป็นชาตหนึ่งในชาติสมาชิกของสหภาพยยุโรป และ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต

Bottom-Interactive Bottom-Interactive

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ