แถลงการณ์ขององค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในบังกลาเทศอดทนอดกลั้น และขอให้การตั้งรัฐบาลรักษาการ เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ตามกระบวนการประชาธิปไตย
ขณะที่นาย แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เรียกร้องทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ และไม่ใช้ความรุนแรง พร้อมกันนี้ ยังกล่าวชื่นชมที่กองทัพบังกลาเทศไม่ใช้กำลังเข้าควบคุมและปราบปรามการชุมนุมประท้วง ซึ่งนำโดยกลุ่มนักศึกษา และยินดีที่มีการจัดตั้งรัฐบาลรักษาการ เพื่อเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ตามกระบวนการประชาธิปไตย
ส่วนนาย เดวิด แลมมี รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักร อดีตเจ้าอาณานิคมของบังกลาเทศ เรียกร้องให้ยูเอ็นนำการสอบสวนที่เป็นกลางอย่างเต็มรูปแบบ เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีการชุมนุมประท้วงของประชาชน
เช็กโปรแกรมกีฬาโอลิมปิก 2024 เวลาแข่งขัน Olympic 2024 วันที่ 6 ส.ค.67
เปิดประวัติ "บี" จันทร์แจ่ม นักมวยสากลหญิงไทย ในศึกปารีสเกมส์ 2024
ผ้าคลุมรถกันความร้อน และ 4 ไอเทมที่ช่วยทำให้รถดูสวยใหม่ตลอดเวลา
การประกาศลาออกของนายกฯ ฮาสินา วัย 76 ปี ซึ่งอยู่ในอำนาจมาตั้งแต่ปี 2009 เกิดขึ้นหลังกระแสการประท้วงขับไล่รัฐบาล ซึ่งมีต้นตอมาจากการประท้วงของกลุ่มนักศึกษาที่ไม่พอใจนโยบายกำหนดโควตาตำแหน่งราชการ เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น โดยสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน รวมจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุประท้วงรุนแรงระลอกนี้แล้วกว่า 300 คน
ขณะที่เมื่อวานนี้ 5 ส.ค. แกนนำกลุ่มผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษา เรียกร้องให้มีการเดินขบวนครั้งใหญ่ในกรุงธากา ซึ่งผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งมีการเดินขบวนไปบุกบ้านพักของนายกฯ
ผู้ประท้วงหลายร้อยคนพังประตู บุกเข้าไปด้านใน บางส่วนมีการปล้นสะดม ขนข้าวของและเฟอร์นิเจอร์ออกมาด้วย หลังข่าวการลาออกของนายกฯ เผยแพร่ออกมา ชาวบังกลาเทศทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พากันเฉลิมฉลองตามท้องถนน
หลังจากนั้นไม่นาน พล.อ.วาเกอร์-อุซ-ซามัน ผู้บัญชาการทหารบังกลาเทศ ออกแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ โดยยืนยันว่านางฮาสินาลาออกจริง จากนี้ จะมีกระบวนการเปลี่ยนผ่าน เพื่อตั้งรัฐบาลรักษาการ แต่เขาไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าจะเป็นผู้นำรัฐบาลรักษาการเองหรือไม่
สำหรับนายกฯ ชีค ฮาสินา เป็นบุตรสาวของนายชีค มูจิบู เราะห์มาน (Sheikh Mujibur Rahman) ประธานาธิบดีคนแรกและเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศบังกลาเทศ ที่ผ่านมา ฮาสินา มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งการร่วมมือกันต่อต้านกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง การให้ที่พักกับผู้ลี้ภัยโรฮิงญาจากเมียนมา แต่ระยะหลัง เธอถูกสหรัฐฯ วิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นเนื่องจากมีแนวโน้มมุ่งสู่เผด็จการ