พาณิชย์ เตรียมถกเจ้าของลิขสิทธิ์ แก้ปมล่อซื้อกระทง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมทรัพย์สินทางปัญญา เตรียมหารือเจ้าของลิขสิทธิ์ลายการ์ตูนในกระทงที่ถูกล่อซื้อเพื่อหาทางออกปัญหาการแอบอ้างเรื่องการมอบอำนาจ พร้อมขอความร่วมมือไม่ให้ใช้วิธีล่อซื้อ เหตุผิดกฎหมายแพ่งและอาญา

น.ส.นุสรา กาญจนกูล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า ได้เตรียมเชิญตัวแทนบริษัท ที.เอ.ซี คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ของบริษัท San-X ประเทศญี่ปุ่น หารือกรณีที่มีเด็กหญิงอายุ 15 ถูกว่าจ้างให้ผลิตกระทงที่มีลายการ์ตูนลิขสิทธิ์ของบริษัทฯมาหารือ เพื่อหาทางออกในเรื่องดังกล่าวว่าจะทำอย่างไรได้บ้างในการให้ความช่วยเหลือ

กรมทรัพย์สินฯ แจงปม ด.ญ.ถูกล่อซื้อกระทงลิขสิทธิ์ “ฟ้องกลับได้”

นอกจากนี้ กรมจะขอความร่วมมือบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แท้จริงให้ช่วยตรวจสอบกรณีที่มีการมอบอำนาจให้สิทธิตัวแทน ทั้งการดูแลไม่ให้มีการแอบอ้างนำลิขสิทธิ์ไปใช้โดยไม่ขออนุญาต  ห้ามมิให้มีการใช้วิธีการล่อซื้อย่างเด็ดขาด เพราะเป็นการสร้างหลักฐานโดยมิชอบ ถือเป็นการฉ้อโกงและผิดกฎหมายแพ่งและอาญาอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นคงต้องเพิ่มความเข้มงวดและกำชับมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นมาอีก

ส่วนคำว่าล่อซื้อนั้น หากเป็นการล่อซื้อจากผู้ที่ผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์อยู่แล้ว ถือว่าผู้ที่ผลิตสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์กระทำความผิดโดยเจตนา แต่ในส่วนของการว่าจ้างให้ผลิตสินค้าที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์แล้วจับกุม ถือว่ามีคนสั่งให้ทำ ความผิดไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีคนสั่งให้ทำ ถือเป็นการล่อซื้อที่ไม่ควรกระทำ

นักกฎหมาย ยัน กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่มีการล่อซื้อ

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายลิขสิทธิ์ และเป็นผู้รับมอบอำนาจจัดการกฎหมายด้านลิขสิทธิ์จากบริษัทต้นสังกัดจากต่างประเทศสังกัดหนึ่ง  อธิบายว่า สิ่งสำคัญที่สุดในขั้นตอนการดำเดินคดีลิขสิทธิ์ คือ ผู้ร้องเรียนต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทต้นสังกัดจากต่างประเทศ ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจต้องนำเอกสารดังกล่าวมาให้กระทรวงต่างประเทศรับรอง และเเปลเอกสารดังกล่าวเป็นภาษาไทย เพื่อยืนยันว่าบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมีตัวตนอยู่จริง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจจะมีกำหนดระยะเวลาใช้ ดังนั้นหากเลยกำหนดเวลาก็จะไม่มีผลทางกฎหมาย

ที่สำคัญหากผู้ร้องเรียนไม่มีหนังสือมอบอำนาจ ไม่สามารถแจ้งความเอาผิดได้ พร้อมเตือนว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ไม่มีการล่อซื้อ หากมีบุคคลใช้วิธีการนี้ให้ขอดูหมายศาล หากไม่มีให้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นมิจฉาชีพ

นายไพบูลย์ ยังอธิบายว่า ส่วนมากบริษัทลิขสิทธิ์ต่างประเทศจะติดต่อมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตรวจสอบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์จริง จากนั้นกรมทรัพย์สินฯ จะประสานงานไปยังตำรวจ ปอศ. ก่อนจะลงพื้นที่จับกุมผู้ละเมิด ซึ่งลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จะไม่เรียกเงินหลักพันหลักหมื่น แต่จะเรียกเงินหลักล้าน เพราะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในขั้นตอนการดำเนินคดี

เปิดใจเด็กวัย 15 ปี รับออเดอร์กระทงรูปการ์ตูนดังถูกจับปรับ 5 หมื่น

ยังไม่จบ! พบอีก 2 คน ถูกล่อซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูน โร่แจ้งความข้อหากรรโชกทรัพย์

เด็กหญิง 15 ปี ไม่ขอรับเงินค่าปรับลิขสิทธิ์กระทงคืน จ่อฟ้องกรรโชกทรัพย์

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ