
เช็กง่ายๆ ! วิธีตรวจหาภาวะ ‘น้ำหนักเกิน’
เผยแพร่
กรมอนามัยเผยวิธีหาค่าน้ำหนักตัว ควบคู่การรับประทานอาหารเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดี
หลังจากกรมอนามัยเปิดตัวมาตรฐานอาหารไซซ์ S M L ซึ่งเป็นมาตรฐานปริมาณอาหาร ที่ควรรับประทานให้เหมาะสมกับน้ำหนักของแต่ละบุคคล ว่า หากน้ำหนักมาก หรือค่าดัชนีมวลกายสูง ที่เรียกว่า ค่า BMI (Body Mass Index) ก็ควรรับประทานในปริมาณไซซ์ S เป็นต้น
เปิดตัวอาหารมาตรฐาน ไซซ์ ‘S M L’ กินอย่างไรเหมาะกับน้ำหนักตัว
เกิดข้อสงสัยว่า แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า ค่าดัชนีมวลกายแต่ละคนเท่าไหร่ หรือภาวะไหนที่เรียกว่า น้ำหนักเกิน และเราควรกินอาหารอย่างไรให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว
ข้อมูลจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ข้อมูลว่า นอกจากการชั่งน้ำหนักตัว วัดส่วนสูง ยังมีวิธีประเมินตัวเองได้ด้วยการวัดรอบเอว และหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI (Body Mass Index) โดยการวัดรอบเอว ทำได้ด้วยการยืน และใช้สายวัดรอบเอว ผ่านสะดือให้สายวัดแนบกับลำตัวพอดี ไม่รัดแน่นหรือหลวม และให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอววางอยู่ในแนวขนานกับพื้น ซึ่งรอบเอวที่เหมาะสมกับแต่ละคน ไม่ควรเกินส่วนสูงเป็นเซนติเมตรหารด้วย 2
ดังนั้น นาย ก ควรมีรอบเอวไม่เกิน 84 เซนติเมตร
ส่วนการวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI มีค่าเท่ากับ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรสองครั้ง ซึ่งดัชนีมวลกายปกติของคนเอเชีย คือ 18.5 -22.9
โดยหากค่า BMI น้อยกว่า 18.5 นับว่าอยู่ในภาวะผอม
หากค่า BMI 18.5-22.9 นับว่าอยู่ในภาวะปกติ
หากค่า BMI 23 -24.9 นับว่าอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน
หากค่า BMI 25-29.9 นับว่าอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 1
หากค่า BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 นับว่าอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 2
เมื่อทราบค่า BMI และรอบเอว ก็จะทำให้ทราบว่า เราควรรับประทานอาหารอย่างไรให้เหมาะสม ซึ่งจะสอดคล้องกับกรมอนามัยที่กำหนดค่ามาตรฐานไซซ์อาหาร S M L ที่ระบุว่า
1.อาหารไซซ์ S กำหนดอาหาร 1 จาน ควรรับประทานในปริมาณที่ให้พลังงาน 300-400 กิโลแคลอรี่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 23.0 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งควรได้รับพลังงาน 1,200-1,400 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
2.อาหารไซซ์ M กำหนดอาหาร 1 จาน ควรรับประทานในปริมาณที่ให้พลังงาน 401-500 กิโลแคลอรี่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งควรได้รับพลังงาน 1,600-2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
3.อาหารไซซ์ L กำหนดอาหาร 1 จาน ควรรับประทานในปริมาณที่ให้พลังงาน 501-600 กิโลแคลอรี่ เหมาะสำหรับคนผอมที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้แรงงานมากๆ ที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เช่น นักกีฬา ควรได้รับพลังงาน 2,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
ไขปมร้อน “อ้วน = พิการ” จริงหรือ ?
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline