น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของสมาชิกสหกรณ์และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิค – 19 ระบาด ส่งผลให้รายได้ของสมาชิกสหกรณ์ลดลง ธุรกิจสหกรณ์หยุดชะงัก จึงได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือเพื่อนบรรเทาภาระหนี้สิน ได้แก่ การขยายเวลาการชำระหนี้ การพักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในส่วนการชำระค่าหุ้นของสมาชิก ขอให้ปรับลดหรืองดส่งค่าหุ้นรายเดือนเป็นการชั่วคราว หรืองดหักส่งค่าหุ้น ตามส่วนของเงินกู้จนกว่าจะเข้าสู่สถานการณ์ปกติ โดยมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของสหกรณ์ดังกล่าว มี 3 แนวทาง คือ
อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 2 เม.ย. 63
1.สหกรณ์ที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ประสานขอความร่วมมือ ธ.ก.ส. ผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ โดยขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้สหกรณ์ ไม่เกิน 20 ปี ปลอดชำระต้นเงิน 3 ปีแรกและขอสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ำกว่า MLR-1 ต่อปี ซึ่งหากสหกรณ์ใดมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว สามารถติดต่อ ธ.ก.ส. สาขาที่สหกรณ์กู้ยืมเงิน
2.สหกรณ์ที่เป็นลูกหนี้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ให้ขยายเวลาการชำระหนี้ได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งสหกรณ์จะต้องผ่อนผันขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้แก่สมาชิกผู้กู้เงินจากสหกรณ์เช่นเดียวกัน
3.กลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จะได้รับการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระออกไปอีก 1 ปี โดยขยายเวลาชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และกลุ่มเกษตรกรจะต้องขยายระยะเวลาการชำระหนี้ งดคิดดอกเบี้ยและค่าปรับกับสมาชิกด้วย ซึ่งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่จะขอขยายเวลาการชำระหนี้จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์และกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งคาดว่าทุกมาตรการจะช่วยบรรเทาปัญหาภาระหนี้สินให้กับสหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิค – 19 ระบาด ต่อไป
อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 2 เม.ย. 63
ทั้งนี้การมาตรการดังกล่าวจะสามารถบรรเทาภาระหนี้สินของสหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ประชาชนมีรายได้ลดลง และไม่เพียงพอต่อการครองชีพ ซึ่งสหกรณ์ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทุกภาคส่วน ปัจจุบันมีสหกรณ์ 6,579 แห่ง สมาชิกกว่า 11 ล้านคน เป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 3,453 สหกรณ์ มีสมาชิกที่กู้ยืมเงินจากสหกรณ์เพื่อไปประกอบอาชีพทางการเกษตร 1.035 ล้านคน จำนวนเงิน 178,473.04 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ให้สมาชิกกู้ยืม ส่วนหนึ่งมาจากทุนของสหกรณ์เอง และบางสหกรณ์กู้ยืมมาจากแหล่งเงินทุนภายนอก ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กองทุนพัฒนาสหกรณ์ และสถาบันการเงินอื่น สหกรณ์นอกภาคการเกษตร (ออมทรัพย์ เครดิตยูเนี่ยน บริการ และร้านค้า) 3,126 สหกรณ์ มีสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 600 แห่ง เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการณ์และรัฐวิสาหกิจ สมาชิก 188,700 ราย วงเงินกู้ 122,807 ล้านบาท
สำหรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีจำนวน 36 แห่ง สมาชิก 36,500 ราย วงเงินกู้ 600 ล้านบาท และสหกรณ์เดินรถซึ่งเป็นสหกรณ์บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งมีจำนวน 230 แห่ง สมาชิก 100,207 ราย มีการให้เงินกู้ยืมแก่สมาชิกรวม 1,444.85 ล้านบาท
“มนัญญา” ยัน จุดยืนเดิมแบน 3 สารพิษ