รองศาสตราจารย์ วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเคยศึกษาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ว่า มีผลกระทบในเชิงสุขภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างไร โดยนำค่าฝุ่น PM10 ย้อนหลังไป 7-8 ปี มาสร้างสมการร่วมกับตัวแปรปัจจัยต่าง ๆ เช่น ช่วงวัน อุณหภูมิ ความเร็วลม ประกอบกับนำแนวคิดเรื่องความพึงพอใจในชีวิตของคนซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนหนึ่งเต็มใจจ่ายเพื่อให้ฝุ่นละออง PM 10 ลดลง 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรนั้น กลุ่มตัวอย่างยินดีที่จะจ่าย 6,000 กว่าบาทต่อปี เมื่อคูณกับครัวเรือนในกรุงเทพฯ ตามทะเบียนกรมการปกครองซึ่งมีกว่า 2 ล้าน 7 แสนครัวเรือนก็จะได้ตัวเลขออกมาว่า ค่าฝุ่น PM 10 ทุก ๆ 1 ไมโครกรัมลูกบาศก์เมตรที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพขั้นต่ำ 1 หมื่น 8 พันล้านบาทโดยประมาณ และหากเปรียบเทียบกับ ฝุ่น PM 2.5 มูลค่าความเสียหายก็มากขึ้นตามความร้ายแรงของมลพิษ
รองศาสตราจารย์วิษณุ บอกว่า ข้อมูลตัวเลขนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้กำหนดนโบาย เพราะมองมุมกลับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นก็สามารถกลับมาเป็นผลประโยชน์ให้กับสังคมได้เช่นกันกับการทำให้ค่าฝุ่นละอองลดลง เช่น ลงทุนแก้ปัญหาหมื่นล้านบาททำให้มลพิษลดลงแล้วได้ผลโยชน์กลับคืนมา หมื่นแปดพันล้าน อย่างนี้ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเกิดความคุ้มค่า
กรมควบคุมมลพิษ เผยฝุ่นละอองมาพร้อมหมอก กทม.ค่าPM 2.5 เกินมาตรฐาน!
นักวิชาการแนะรัฐหาค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ให้เหมาะสมกับไทย
สำหรับมาตรการภาครัฐในการแก้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 รองศาสตราจารย์วิษณุ ระบุว่า มีหลายมาตรการที่ ภาครัฐพยายามลดต้นตอสาเหตุและบรรเทาอาการควบคู่กันไป ส่วนตัวมองว่ามาตรการครบถ้วนแล้วแต่สิ่งที่ภาคประชาชนอยากเห็นคือการเอาจริงเอาจังกับมาตรการนั้นมากกว่า
อีกเรื่องที่นักวิชาการอยากเห็นความคืบหน้าคือการยกระดับมาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซลให้สูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการศึกษาวิจัยพบว่ามาตรฐานเครื่องยนต์และน้ำมันสามารถลดฝุ่นละอองได้อย่างมีนัยสำคัญมาก ๆ แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ปัจจุบันนี้ปริมาณรถเพิ่มขึ้น เมื่อเราแก้เรื่องปริมาณไม่ได้จึงต้องการมาตรฐานเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหามลพิษฝุ่น