สำหรับขั้นตอนการตรวจโดยเครื่องมือตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากเหงื่อ ผู้ที่เข้ารับการตรวจ จะได้รับแท่งสำลีและขวดแก้วคนละหนึ่งชุด สำลีที่ได้มาจะต้องนำไปหนีบไว้ใต้รักแร้ทั้งสองข้าง ทิ้งไว้ 15 นาที เมื่อครบแล้วให้นำแท่งสำลีมาใส่ในขวดแก้วและนำไปอบด้วยรังสี UV เพื่อให้เชื้อลอยจากแท่งสำลีอยู่ในอากาศ
จากนั้นเจ้าหน้าที่จะใช้เข็มฉีดยาดูดอากาศที่อยู่ในขวดแก้วออกมา และนำเข้าไปในเครื่องตรวจโดยใช้แรงดันอากาศที่อยู่ในเข็มฉีดยา อากาศจะผ่านตัวกรองเข้าไปในตัวเครื่อง ไม่เกิน 30 วินาที
จุฬาฯเปิดตัวเครื่องตรวจโควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อ
อินโดนีเซียตั้ง “เครื่องเป่าลมหายใจตรวจโควิด-19” รู้ผลใน 2 นาที
สามารถทราบผลตรวจจากตัวเลขที่อยู่บนหน้าจอของเครื่อง ถ้าเป็นเลข 0.00 คือไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อ แต่ถ้าตัวเลขขยับจากเลข 0 ขึ้นไป หมายความว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
ผศ.ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จะมีสารเคมีบางชนิดที่แปลกไปจากสารอื่น และเมื่อตรวจเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,000 คน ควบคู่กับการตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR พบว่าผลมีความแม่นยำถึง 95%
สำหรับเครื่องตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากเหงื่อ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งหากพบว่าผู้เข้ารับการการตรวจ มีผลว่าติดเชื้อโควิดควรตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการ RT-PCR เพื่อยืนยันผลที่แน่นอนอีกครั้ง และขณะนี้ได้ใช้เครื่องมือชนิดนี้ตรวจหาเชื้อกลุ่มเสี่ยงแล้ว โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เข้าไปตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในแหล่งชุมชนเบื้องต้นแล้ว