เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ออก ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2564 เรื่องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา เตือนล่วงหน้า 7-10 ต.ค.64 ให้ประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มสูงอีก 30-50 เซนติเมตร
เปิดคลิประทึก "พายุหมุน" พัดผ่านบ้านเรือน
แก่งกระจาน - ปราณบุรี - ห้วยไทรงาม เสี่ยงน้ำล้น กอนช.ประกาศเตือน 4 จังหวัด
อุตุฯ เตือนจับตา 5-10 ต.ค. พายุลูกใหม่ ขอให้ปชช.ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่19/2564 เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
ใจความว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 23- 25 กันยายน2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างประกอบกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง ทำให้มีปริมาณน้ำท่าจากลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน ไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามากขึ้น ส่งผลกระทบให้เกิด น้ำท่วมในหลายพื้นที่
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักพบว่าเมื่อวันที่ 1 ต.ค.64 ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่าน เขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,775 – 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
จากนั้น 2 ต.ค.64 ปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
คาดว่าในวันที่ 5 ต.ค.64 ปริมาณน้ำจะไหลหลากรวมกันผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุด 3,050 - 3,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 7 – 10 ต.ค.64
ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 เซนติเมตร โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังประกอบด้วย
1. จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
2. กรุงเทพมหานคร บริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบให้ระดับน้ำล้นคันป้องกันน้ำริมแม่น้ำของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นบริเวณที่ไม่มีระบบคันป้องกันริมแม่น้ำ
ในการนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันน้ำริมแม่น้ำ เสริมคันกั้นน้ำบริเวณจุดเสี่ยงที่มีระดับคันป้องกันน้ำต่ำ และบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ
2. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำทราบล่วงหน้า
3. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อม ในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
กอนช. เผยสถานการณ์น้ำท่วม กลับสู่ภาวะปกติแล้ว 11 จังหวัด แต่ยังเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง 24 ชม.