ตลอดทั้งวันที่ศูนย์กักตัว ของสถาบันบำราศนราดูร มีแรงงานไทยในยูเครน เดินทางมากักตัวเพื่อรอผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR โดยผลตรวจแรงงานชุดแรก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองแอดูซา เดินทางมาถึงในช่วงเช้าจำนวน 38 คน พบผลเป็นบวก 3 คน จึงถูกนำเข้าระบบการรักษา และคนที่ผลเป็นลบก็ทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยมีเจ้าหน้าที่จัดรถไปส่งที่หมอชิต เอกมัย สนามบินดอนเมือง และสายใต้ใหม่ จากนั้น สสจ.แต่ละจังหวัด จะดูแลตรวจหาเชื้อแรงงานเหล่านี้อีกครั้งหนึ่ง
หลายชาติยุโรปไม่พอใจ “ฟีฟ่า” ไม่แบน “รัสเซีย”
ความขัดแย้ง "รัสเซีย-ยูเครน" กระทบการค้าไทย 1.24 หมื่นล้านบาท
ส่วนในช่วงบ่ายมีแรงงานไทยจากเมืองเคียฟ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซีย เดินทางมาถึงอีก 58 คน โดยทุกคนจะต้องกักตัว และรอผลตรวจ ซึ่งคาดว่า จะออกในช่วงเย็น ทั้งนี้ในจำนวนแรงงานที่เดินทางกลับมา ที่เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ จำนวน 69 คน จะได้รับเงินชดเชยจากกระทรวงแรงงานคนละ 15,000 บาท
ทีมข่าวได้คุยกัยกับ 1 ในแรงงานจากกรุงเคียฟ ที่เดินทางมาถึงไทยในช่วงเที่ยง ชื่อนางญาทนี คนหาร เธอเล่าว่า ได้ยินเสียงระเบิดวันแรกเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ช่วงเช้ามืด จากนั้นในเมืองก็โกลาหล ทุกคนพยายามหนีตายออกจากเมืองเคียฟ เช่นเดียวกับเธอ ที่พยายามจะออกจากเมืองเคียฟ โดยเดินทางมากับเพื่อนแรงงานชาวไทย และใช้รถไฟใต้ดิน ซึ่งวินาทีนั้นเหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวาย คนเบียดเสียดกันแน่นจน เพื่อนแรงงานพลัดตกลงไปในรางรถไฟ ระหว่างที่หลบระเบิด อยู่ภายในสถานีรถไฟใต้ดินกว่า 10 ชั่วโมง เธอกับเพื่อนมีน้ำติดตัวกันเพียง 2 ขวด ไม่มีข้าวกิน และหนาวเหน็บ ยอมรับว่า กลัวตายมาก คิดถึงแต่หน้าพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และตั้งใจว่า หนีกลับประเทศไทยให้ได้
ทั้งนี้จากการพูดคุยกับแรงงานไทยที่กลับจากยูเครน หลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังมีความกังวลที่จะกลับไปทำงานที่ยูเครนอีก ถึงแม้ว่า สถานการณ์จะสงบแล้ว แต่ยังคงหวาดกลัว จากเหตุการณ์ที่ต้องเจอระหว่างหนีตายออกจากประเทศ
โดยล่าสุด สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่า มีชาวยูเครนอพยพหนีภัยสงครามไปยังประเทศเพื่อนบ้านแล้วมากกว่า 660,000 คน โดยเกือบครึ่งอพยพไปยังประเทศโปแลน