ตามหลักกฎหมายแล้ว ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ ประธานเครือข่ายทนายคลายทุกข์ ให้ข้อมูลว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุว่า ตามกฎหมายทายาทโดยชอบธรรมมี 6 ลำดับ คือ ผู้สืบสันดาน หรือ ลูก บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาปู่ ย่า ตา ยาย และลุง ป้า น้าอา ซึ่งทายาทที่ได้รับมรดกจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น หากยังไม่มีทายาทลำดับใดเสียชีวิต ลำดับต่อไปก็จะไม่ได้รับสิทธิ์
แม่แตงโม แคลงใจการเสียชีวิตลูกสาว เชื่อไม่ได้ตกเรือเอง
คริสตจักรฯ เผยกำหนดการพิธีไว้อาลัย “แตงโม นิดา” 11-13 มี.ค.
ซึ่งในกรณีของ “แตงโม” ไม่มีลูก ส่วนพ่อก็เสียชีวิตแล้ว หมายความว่า แม่เป็นทายาทลำดับ 2 ถือเป็นทายาทโดยชอบธรรมตามกฎหมาย ที่มีสิทธิ์ได้ทรัพย์สิน รวมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ ทันที
ดังนั้นการที่ แม่ของแตงโมออกมาดำเนินการเรื่องผู้จัดการมรดก จึงอาจไม่จำเป็น เพราะผู้จัดการมรดกคือตัวแทนทายาทในการแบ่งมรดกให้กับทายาท แต่กรณีแม่เป็นทายาทอยู่แล้ว หรือ หากต้องการเป็นผู้จัดการมรดกจริงๆ แม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล ซึ่งต้องใช้เวลาไตร่สวนก่อน อย่างน้อย 30-45 วัน ไม่ใช่พูดขึ้นลอยๆ
นอกจากนี้ ทนายเดชา ยังบอกอีกว่า การเป็นทายาทรับมรดกนั้น ก็ไม่ได้หมายถึงทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องรับในส่วนของหนี้สิน ที่ต้องชำระแทนด้วย
ส่วนประเด็นเรื่องเงิน 30 ล้านบาท เพื่อชดเชยเยียวยากรณีการเสียชีวิตของแตงโม “ทนายเดชา” มองว่า จากปากคำของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทั้ง 5 คน ให้ข้อมูลลักษณะเดียวกันว่า ทุกคนไม่ได้สวมเสื้อชูชีพ แต่ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าขับเรือกระชาก จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ทำให้เรื่องนี้อาจเข้าข่ายเพียงแค่ความประมาท
ที่สำคัญ พยานบนเรือยืนยันว่า “แตงโม” ไปปัสสาวะท้ายเรือ ก่อนพลัดตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าการเสียชีวิตเกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นการรับโทษตามมาตรา 437 เมื่อไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย ทนายเดชามองว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องชดเชยเยียวยา มรจำนวนเงินขนาดนั้น
สำหรับคดีนี้ทนายเดชามองว่า เมื่อพยานผู้เห็นเหตุการณ์ที่สามารถยืนยันเรื่องราวบนเรือ มีเพียง 5 คน แล้วทั้งหมดพูดสอดคล้องกัน ตำรวจอาจมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เพราะไม่มีผู้กระทำความผิด แต่หากตำรวจมีการสั่งฟ้องจริงส่งเรื่องสู่ศาล พนักงานสอบสวนก็จะตั้งข้อหาเพียงประมาทเท่านั้น.