ภาพของเสานำทาง หรือ เสาหลักลาย ริมถนนสายหนึ่งในจังหวัดน่าน ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่ง โพสต์ลงในกลุ่ม “เล่าขวัญเมืองน่าน” จากภาพจะเห็นว่าเสาดังกล่าวมีลักษณะแตกชำรุด จนมองเห็นด้านใน ซึ่งภายในเสาดังกล่าวกลับเป็นเพียงกระบอกไม้ไผ่ จนเกิดกระแสวิจารณ์อย่างมาก และมีคนเข้ามาแสดงความเห็น เช่น ขอหัวเราะหน่อยพึ่งเคยเห็น สอดไส้คาลาเมล เหล็กเส้นในเสารุ่นใหม่ หรือบางคนก็เรียกร้องให้ ป.ป.ช.เข้าไปตรวจสอบ
ปราบ "เรือมนุษย์" ประมงใช้แรงงานทาส
เงินเฟ้อเม.ย.พุ่ง 4.65% คาดปีนี้ "สินค้าแพงไม่มีลด" จ่อขึ้นราคาเพียบ
ทีมข่าวสอบถามเจ้าของโพสต์ ทราบว่าจุดที่พบเสาดังกล่าวอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 สายภูเพียง-แม่จริม ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 10 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 พบเสาหลักนำทาง หลายต้นได้รับความเสียหาย ปริแตก หักโค่น และถูกไฟเผา ทำให้เห็นว่าแกนกลางข้างในมีไม่ไผ่อยู่
สอบถามผู้ใช้เส้นทางนี้ บอกว่าขับรถผ่าน-ไปมาก็สังเกตเหมือนกันว่า เสาดังกล่าวมีลักษณะแปลก ๆ ก็อยากรู้แต่ก็ไม่ได้ลงไปดู แต่ก็ไม่เข้าใจว่าเป็นการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
เมื่อสอบถามไปยัง แขวงทางหลวงน่านที่ 1 ชี้แจงว่า หลักนำทางดังกล่าว เป็นเสาแบบใหม่ ที่ทำมาจากยางพารา ตามนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร โดยนำมาติดตั้งแทนเสาคอนกรีตที่มีอยู่เดิม และเพิ่มเติมในส่วนที่ติดตั้งไม่ครบ ซึ่งเสาแบบใหม่นี้ จะช่วยลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุรถชน และใช้เป็นแนวนำทาง
โดยหลักนำทางดังกล่าว ได้รับการออกแบบมาจากส่วนกลาง ให้เป็นหลัก กลวง โดยยางพาราที่เอามาใช้ทำหลักนำทาง โดยผู้ผลิตได้บอกว่าใช้น้ำยางพารา 70 เปอร์เซ็นต์ของวัสดุที่มาทำขึ้นรูป
ส่วนประเด็นที่เกิดการชำรุด แล้วสังเกตว่าด้านในของเสา เป็นไม้ไผ่นั้น ทางเจ้าหน้าที่อธิบายว่า หลักนำทางชนิดนี้ เป็นยางพารา ทำให้มีความอ่อนตัว เมื่อนำมาติดตั้ง เสาจึงไม่ตรง โยกซ้ายขวา การแก้ปัญหา จึงใช้ท่อนไม้ไผ่เป็นแกนกลาง ส่วนหนึ่งก็เพื่อประหยัดค่าวัสดุ เพราะหากใช้ปูนเป็นแกนกลางก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ที่สำคัญหากเกิดอุบัติเหตุก็จะรุนแรงกว่า
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน” ระบุว่าการตรวจสอบราคา พบว่าทางหลวงจังหวัดน่าน ทำเสาหลักนำทางทั้งหมด 2 โครงการ รวม 3,201 ต้นครั้งแรกทำเมื่อเดือนเมษายน 2564 จำนวน 2,086 ต้น ตกราคาต้นละ 1,860 บาท และในเดือนกรกฎาคม ทำเพิ่มอีก 1,115 ต้น เฉลี่ยต้นละ 2,050 บาท
ซึ่้งเมื่อตรวจสอบโครงการเสานำทางยางพารา ของกรมทางหลวงพบว่ามีการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือการศึกษาวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมการใช้ยางพาราร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อให้กรมใช้ยางพาราน้ำจำนวน 9,000 ตันต่อปี เสาหลักนำทางใช้ยางประมาณ 15 กิโลเมตรต่อ 1 ต้น ตั้งเป้าต่อปีใช้ประมาณ 120,000-130,000 ต้นทั่วประเทศ ต้นทุนประมาณ 2,600-2,700 บาทต่อต้น จากเดิมหลักคอนกรีตราคาประมาณ 800 บาทต่อต้น.