‘แมน’ เด็ก กทม. เรียนเก่ง แต่เกือบหลุดออกจากระบบการศึกษา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หากเราเจอกับเด็กที่เรียนเก่ง ขวนขวายตามหาความฝันของตัวเองทั้งด้านกีฬาและภาษาอังกฤษ ก็คงจะคาดเดาได้ว่า อนาคตเด็กคนนี้จะประสบความสำเร็จไม่มากก็น้อย

แต่ชีวิตจริงของทุกคนไม่ง่ายแบบนั้น “แมน” เด็กกทม.คนหนึ่งมีคุณสมบัติที่พูดมาครบถ้วน แต่เขาเกือบไม่ได้วุฒิ ม.3 ทั้งที่ตัวเองและยายบุญธรรมที่เลี้ยงดูเขาอยู่ตอนนี้ 

เช็กราคาน้ำมัน เบนซินขึ้น 60 สต. E85-ดีเซล ขึ้น 1 บาท มีผล 16 พ.ค. 65

รู้"สิทธิรักษาพยาบาล"ของคนไทยมีอะไรบ้าง ใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

“คุณยายสีไวโอลินตั้งแต่เมื่อสามปีที่แล้ว เพราะว่าคุณตาเสีย ก่อนคุณตาจะเสียคุณตาก็บอกว่า ไอ้หนูมาหาพ่อมา เดี๋ยวพ่อหัดไวโอลินให้ แล้วคุณยายก็บอกว่าป๊า หนูไม่ได้นะ หนูทำไม่ได้ ได้สิลูก พ่อสอน เล่นไปตามที่พ่อบอก ไม่ต้องไปฟังใคร ไม่ต้องไปแคร์ใคร ให้ลูกเรียนให้จบ แต่ถ้าลูกจบแล้วเราก็เลิก”

(ตอนนี้อยู่กัน 2 คนหรอคะ) 2 คน (ค่าใช้จ่ายเยอะไหมยาย) ค่าใช้จ่ายก็มีค่าเช่าบ้าน 2,500 บาท แล้วก็ช่วงนี้น้องแมนไม่ได้ไปโรงเรียน ก็มีค่าน้ำค่าไฟตกเดือนละ 3,000 กว่าบาท  คุณยายก็มีเงินผู้สูงอายุ แล้วก็เงินบัตรประชารัฐ 200 บาท (ผู้สูงอายุได้เท่าไหร่ยาย) 600 บาท (บัตรประชารัฐอีก) 200 เป็น 800 บาท แค่นั้น (มีเท่านี้เลย) แค่นี้

แม้อายุจะล่วงเลยวัยเกษียณ “จงกล” ต้องหัดสีไวโอลิน เพื่อมาเล่นเปิดหมวกแทนสามีที่จากโลกนี้ไปเมื่อ 3 ปีก่อน เกือบทุกวันเธอจะพา “แมน” หลานชายวัย 16 มาขายเมี่ยงคำด้วยเพื่อ เพิ่มช่องทางหารายได้ แต่เงินที่ได้จาก 2 ทางรวมกัน ตกวันละ 500-600 บาท น้อยกว่าที่สามีเคยสีไวโอลินได้กว่าครึ่ง

รายได้ที่ไม่พอค่าใช้จ่าย ทำให้ “แมน” ค้างค่าเทอมที่โรงเรียน 3 ปีติด รวมเป็นเงิน 97,000 บาท และเขาเกือบไม่ได้วุฒิ ม.3 หากไม่ได้มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก หาทุนจ่ายให้ และขอให้ “แมน” ย้ายจากห้องเรียนที่เน้นภาษาอังกฤษ เป็นห้องเรียนที่ค่าเทอมถูกกว่า

“กิจวัตรก็ ตื่นเช้าขึ้นมาไปตลาดเสร็จก็กลับมาทำของ ล้างของล้างอะไรเสร็จเรียบร้อย ทำเรียบร้อยปุ๊บก็เตรียมเมี่ยงคำ ทำเมี่ยงคำ (ตื่นตั้งแต่กี่โมงยาย) ตื่นตี 5”

เกือบทุกเช้า “จงกล” จะตื่นตี 5 เพื่อไปตลาดซื้อวัตถุดิบมาทำเมี่ยงคำ ก่อนหอบถุงเมี่ยงคำและกล่องไวโอลิน ไปที่สยามสแควร์เวลาบ่ายโมง กว่าจะขายหมดก็เป็นเวลา 3-4 ทุ่ม ยาย-หลานจึงจะได้กลับบ้านมานอนพักผ่อน

สภาพบ้านที่ทั้งคู่อยู่อาศัย เป็นบ้านไม้เก่าทรุดโทรม เจ้าของให้เช่าเดือนละ 2,500 บาท แต่เธอค้างค่าเช่ามา 2 เดือนแล้ว และกำลังถูกกดดันให้ย้ายออก เพราะรายได้ทั้งหมด ใช้ไปกับค่าอาหารการกินและส่งเสียหลานชายเรียนหนังสือ

ก่อนคุณตาเขาไป เขาฝากฝังน้องแมนอย่างไรไหมคะ) เขาฝากไว้ว่า ไอ้หนู เลี้ยงลูกให้ดีนะ อย่าให้ลูกอดอยาก ส่งลูกเรียนให้จบ ส่งลูกเรียนให้จบ แล้วให้ลูกเข้าข้าราชการนะ ให้ลูกเป็นทหารให้ได้ ทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกไปให้ถึงฝั่ง” จบ 00:26:31:22

(การไปเรียนในโรงเรียน สำหรับเรามองว่าเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตมากน้อยแค่ไหน) มันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผมมากๆ ครับ เพราะถ้าหากผมเก่งแค่ด้านกีฬา ถ้าหากร่างกายผมผุพัง ผมก็ไม่มีความรู้ ผมจะเอาความรู้ที่ไหนไปบริหารอาชีพต่อไป”

เพราะรู้ดีว่าการศึกษาจะทำให้เขาและยายหลุดพ้นจากความยากจน “แมน” จึงตั้งใจเรียนและฝึกฝนภาษาอังกฤษ หวังช่วยส่งเสริมเส้นทางอาชีพสายกีฬาบาสเกตบอลที่เขาชอบ แต่ก็ไม่มั่นใจว่าเดินตามความฝันได้หรือไม่ เพราะฐานะครอบครัวอาจบีบให้ต้องเลือกอาชีพข้าราชการที่มั่นคงกว่า

 “ผมต้องการเรียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากถ้าหากผมตั้งใจซ้อมดีๆ ซ้อมกีฬาครับ อาจจะมีโอกาสได้ไปเล่นต่างชาติบ้างครับ”

(แนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษได้ไหม) ผมชื่ออัมรินทร์ อินตอง ชื่อเล่นชื่อแมน แต่เพื่อนมักเรียกผมว่าบิ๊กแชคครับ”

ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนล่าสุดเมื่อปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของเด็กนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 37,257 บาทต่อคนต่อปี  ในจำนวนนี้เป็นค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาสูงถึง 26,247 บาท รองลงมาคือค่าเดินทาง ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน และค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าเฉลี่ยของทั้งประเทศถึง 2 เท่า

และหากเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของเด็กที่มาจากครัวเรือนยากจน 10% ล่างสุดของกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ 6,600 บาทต่อคนต่อปี  ในขณะที่เด็กที่มาจากครัวเรือนที่รวยที่สุด 10% แรกของกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่สูงถึง 78,200 บาทต่อคนต่อปี ตัวเลขห่างกันถึง 12 เท่า บ่งบอกถึงคุณภาพการศึกษาที่นักเรียนกลุ่มยากจนและกลุ่มที่มีฐานะดี มีโอกาสได้รับแตกต่างกัน

ทองพูล บัวศรี ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า “การศึกษาของเราเป็นการลงทุน อันนี้เราต้องพูดมาตลอด การศึกษาคือการลงทุน อันนี้เป็นเรื่องที่เราพูด เพราะว่าเราไม่ได้ให้คุณจะเรียนทุกชั้น เรียนทุกระดับจ่ายเท่าเทียมกัน ไม่มี นี่คือสิ่งหนึ่งที่มันเป็นปรัชญาของการศึกษา คุณจ่ายเท่าไหร่คุณก็จะได้มากกว่าคนอื่นเท่านั้น นี่คือเหมือนกับ เด็กถ้าคุณจะเรียนพิเศษคุณก็ต้องจ่ายเงินเรียนพิเศษ คุณถึงจะสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ได้ สอบเข้าคณะที่เป็นรังสีเทคนิคได้ ที่เป็นต้นๆ ของประเทศไทย

(การที่จ่ายเพิ่มเพื่อให้เข้าถึงการศึกษาที่ดีกว่า ครูจิ๋วมองว่ามันสะท้อนความเหลื่อมล้ำไหมคะ) มันเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำ”

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ทำงานช่วยเหลือเด็กยากจนในกรุงเทพมายาวนาน มองว่า การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นอกจากจะต้องกันเด็กไม่ให้หลุดจากระบบ อีกความท้าทายคือ จะทำอย่างไรให้เด็กที่มีความสามารถแต่ขาดทุนทรัพย์แบบเดียวกับ “แมน” ได้รับการส่งเสริมให้ใช้ศักยภาพในตัวเองได้อย่างเต็มที่  

นงนภัส พัฒน์แช่ม  รายงาน

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ