
ส.นักข่าว ถอดบทเรียนจัดฉากวงการสงฆ์
เผยแพร่
ประเด็นเรื่องจริยธรรมสื่อถูกตั้งคำถามหนักหลังเหตุการณ์ที่ หมอปลา ได้พาสื่อบุกตรวจสอบ หลวงปู่แสง พระเกจิชื่อดัง รวมทั้งมีการจัดฉากสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ประเด็นนี้ให้ล่าสุดสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาถอดบทเรียนจริยธรรมสื่อถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเตรียมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากับ กสทช.
การเสวนาวันนี้มีตัวแทนหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีต คณะกรรมการ กสทช. และผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Cofact Thailand และตัวแทนจากศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัว ร่วมถอดบทเรียนจริยธรรมสื่อ “ทำงาน จัดฉาก ไสยศาสตร์ วงการสงฆ์”
นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มองว่าจากกรณี “หลวงปู่แสง” ต้องทบทวนการทำงานของสื่อ
นักข่าวสาวกราบขอขมา "หลวงปู่แสง"
สมาคมสื่อฯ แถลงการณ์ยกปม"หลวงปู่แสง"เตือนสำนักข่าวระมัดระวังการนำเสนอ
เพราะเห็นได้ชัดว่ามีความหละหลวมในกระบวนการทำงานซึ่งกองบรรณาธิการไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ รวมถึงอยากให้มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางใช้ “Social Credit” ดึงมาตรฐานจริยธรรมของแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook มาใช้กับสื่อโทรทัศน์ในการเก็บข้อมูลว่าแต่ละช่องมีการทำผิดมาตรฐานอย่างไรบ้าง เช่น การใช้ภาพ-ถ้อยคำหมิ่นเหม่กี่ครั้ง มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกี่ครั้ง
จากนั้นเผยแพร่ข้อมูลนี้ให้สาธารณชนรับทราบขณะเดียวกันองค์กรสื่ออาจจะวางระบบการให้รางวัลช่องที่ทำตามมาตรฐานได้ดี โดยมีเครดิตที่แต่ละช่องสามารถใช้เป็นแต้มต่อในการโฆษณา เชื่อว่าเป็นวิธีที่น่าจะได้ผลมากกว่าตั้งกรอบจริยธรรมให้แต่ละช่องปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว
ด้าน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ อดีต กสทช. และผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Cofact Thailand มองว่า สื่อไม่สามารถอ้างถึงเรตติ้งในการทำผิดจริยธรรมได้ โดยเฉพาะเมื่อ กสทช. ปรับค่าใช้จ่ายลดลง 30-40% หลังปลดล็อกให้ไม่ต้องจ่ายค่าประมูล และค่าโครงข่ายทีวีดิจิทัล จากที่ก่อนหน้านี้จะต้องเสียเป็นรายปี
โดยส่วนตัวมองแนวคิด “Social Credit” เป็นไอเดียที่ดี และ กสทช. สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนได้ แต่ต้องหารือวิธีการดำเนินการให้ได้ผลจริงและเป็นธรรมต่อไป
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline