รถมินิบัสสีสันสดใสคันนี้ เป็นนวัตกรรมยานยนต์แบบไร้คนขับ สามารถรองรับผู้โดยสาร ได้ทั้งหมด 11 คน มีการเซ็ตระบบจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารไว้ล่วงหน้า ติดตั้งGPS เซ็นเซอร์ และกล้องทั้งในและนอกตัวรถ ทำให้เมื่อเจอสิ่งกีดขวาง รถสามารถหยุดได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีคนควบคุมสั่งการ
ปัจจุบันรถคันนี้เป็นนวัตกรรมยานยนต์ไร้คนขับเพียงคันเดียวที่ใช้รับ-ส่งผู้โดยสารจริง ในพื้นที่ Haneda Innovation City โดยมีเจ้าหน้าที่อยู่บนรถ ตามกฎหมายรถรับ-ส่งผู้โดยสารสาธารณะของประเทศญี่ปุ่น
ดีเกินคาด ! ยอดจอง Toyota Yaris ATIV ใหม่ 1 เดือน ทะลุ 2 หมื่นคัน
จับตากลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ หลัง BYD รุกตั้งโรงงานในไทย ผลิตส่งออกรถอีวี
แต่ในอนาคตตั้งเป้าหมายพัฒนารถคันนี้ให้เป็นยานยนต์ไร้คนขับแบบ 100% และเพิ่มจำนวนรถ เพื่อรองรับผู้โดยสารจากพื้นที่ Haneda Innovation City ไปสนามบินฮาเนดะด้วย
อีกจุดที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ศูนย์วิจัยและทดสอบเทคโนโลยีระบบขับขี่อัตโนมัติ ของบริษัท Denso เน้นการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับนวัตกรรมยานยนต์ทันสมัย รวมถึงยานยนต์แบบไร้คนขับ โดยการนำ Digital Twin หรือ การสร้างแบบจำลองเสมือนจริงเชื่อมต่อกับรถ เก็บข้อมูลการทำงานเชิงลึกเพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน
นอกจากนั้นในพื้นที่ Haneda Innovation City แห่งนี้ ยังมีการนำนวัตกรรมหุ่นยนต์มาจัดแสดงลักษณะของคาเฟ่ เจ้าหุ่นยนต์อัจฉริยะเหล่านี้ สามารถปรุงอาหาร ชงเครื่องดื่ม หยิบอุปกรณ์ภาชนะ และเสริฟถึงโต๊ะลูกค้า โดยไม่ต้องใช้แรงงานคนคอยควบคุม ซึ่งถือเป็นคาเฟ่หุ่นยนต์แบบครบวงจรแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่น
ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยกำลังมีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ที่ เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยขณะนี้ได้ทดลองนำ ระบบ Digital Twin มาใช้ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร จำลองโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างเสมือนจริงภายในนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด ก่อนนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหา กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุได้รวดเร็วและตรงจุดขึ้น
ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บอกว่า ขณะนี้มีนักลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์อัตโนมัติของบริษัทญี่ปุ่น สนใจขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย เพราะมีแรงงานและสาธารณูปโภคที่เหมาะสม โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในต้นปีหน้า ซึ่งมองว่าจะทำให้อุตสาหกรรมสมาร์ทซิตี้ในไทยเติบโตขึ้นด้วย