นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนา ระบบ Blockchain ในการแจ้งเบาะแสยาเสพติด และรับเงินรางวัลนำจับ ว่า ตนได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส., พล.ต.ต.บรรพต มุ่งขอบกลาง รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เพื่อติดตามการพัฒนา ระบบ Blockchain ในการแจ้งเบาะแสยาเสพติด เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้แจ้งเบาะแส ที่จะไม่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้แจ้งได้
"สันธนะ" เปิดวอร์ถล่ม "ชูวิทย์" อ้างโรงแรมเดวิส ทองหล่อ มั่วยาเสพติด
สลด! รถไฟชนเด็ก 10 ขวบดับ หลังออกไปตกปลาใกล้ทางรถไฟ หวังเอามาทำกินในครอบครัว
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ระบบ Blockchain ในการแจ้งเบาะแสยาเสพติด เราคิดค้นขึ้น เพื่อแก้ปัญหา ประชาชนไม่กล้าแจ้งเบาะแสยาเสพติด เนื่องจากกังวลว่า จะไม่ปลอดภัย ตนจึงได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำระบบให้มีความปลอดภัย โดยตนได้สั่งการเรื่องนี้ ไปตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ แต่ยังรู้สึกช้าไป เพราะต้องรอขั้นตอนการอนุมัติใช้เงินศึกษา ประมาณ 8-9 แสนบาท ซึ่งตนต้องการให้เสร็จก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เพราะขณะนี้ยังเกิดข่าวคนหลอนยาเสพติด ก่อเหตุทำร้ายผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องการระบบแจ้งเบาะแส ที่มีชั้นความลับสูงมาก มาเป็นหนึ่งในกลไกแก้ปัญหายาเสพติด
ขณะที่ พล.ต.ต.บรรพต กล่าวว่า ระบบ Blockchain จ่ายรางวัลนำจับ เป็นเรื่องที่ต่างชาติให้ความสนใจ โดยตนได้พูดคุยกับหน่วยงานของต่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า ระบบที่เรากำลังทำนี้ ยังไม่มีประเทศใดทำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี จะได้มีเครื่องมือหลากหลายในการแก้ปัญหายาเสพติด เพราะระบบนี้ จะไม่มีใครทราบว่า ใครเป็นคนแจ้งเบาะแส โดยจะมีความปลอดภัยที่สูงมาก ไม่สามารถมีการแฮ็กระบบได้ ซึ่งก็จะช่วยให้ประชาชน กล้าแจ้งเบาะแสมากขึ้น โดยขั้นตอนขณะนี้ ได้ให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาวิจัยเทียบระบบเก่า กับระบบใหม่ เพื่อทำให้ระบบนี้ มีความสมบูรณ์มากขึ้น และกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการแก้ปัญหายาเสพติด
ส่วน นายวิชัย กล่าวว่า ระบบ Blockchain ในการแจ้งเบาะแสยาเสพติด จะสามารถช่วยให้ประชาชนกล้าแจ้งเบาะแส และจะช่วยทำให้ ป.ป.ส. สามารถยึดอายัดทรัพย์ของขบวนการค้ายาเสพติด ได้ตามเป้า 1 แสนล้านบาท ซึ่งการอายัดทรัพย์นั้น สังคมยังเกิดความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เพราะการอายัด ไม่ได้นำเงินเข้ากองทุนยาเสพติดทันที แต่ต้องมีขั้นตอน เช่น เมื่อเจ้าหน้าที่ เข้าไปยึดอายัดทรัพย์ ก็ต้องมีการกลั่นกรอง โดยให้ เลขาธิการ ป.ป.ส. ออกคำสั่งยึดอายัดชั่วคราว และส่งต่อไปคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของแต่ละภาค จากนั้น ก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ก่อนส่งให้อัยการ และส่งศาลพิจารณาตามลำดับ ถึงจะสามารถมีคำสั่งยึดทรัพย์เข้ากองทุนยาเสพติดได้ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมด ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี และเงินกองทุนฯก็ไม่สามารถใช้โดยพลการได้ ต้องมีการขออนุมัติจากกรมบัญชีกลางก่อน