จากกรณีมีข่าวพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด และ เสียชีวิต ที่ จ.สมุทรปราการ ซึ่ง รปภ.วัย 43 ปี นอนเสียชีวิตปริศนาภายในป้อม รปภ.ของโรงงานแห่งหนึ่ง จากการตรวจสอบพบว่าผู้ตายไม่มีโรคประจำตัวใดๆ แต่เมื่อตรวจเชื้อโควิดด้วยชุดตรวจ ATK ผลปรากฏว่าขึ้นสองขีดแดงเข้ม รวมถึงกรณีพนักงานชายบริษัทวัย 23 ปี เสียชีวิตในคอนโด ซึ่งพบว่า เคยได้วัคซีน 3 เข็ม เข็มสุดท้ายคือเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา และอีกหลายรายที่เสียชีวิตและตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด
สธ.ยังไม่พบ “โควิด” เพิ่มหลังเปิดผับบาร์ "วัคซีนกระตุ้น" ชนบทได้ฉีดน้อย
แฉ! สถานบำบัด คือ ตลาดนัดยาบ้า
ล่าสุด นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์การติดเชื้อโควิดขณะนี้ว่า เป็นไปตามการคาดการณ์ของกรมควบคุมโรค ที่พบว่าการติดเชื้อในช่วงนี้จะเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์การติดเชื้อจากทั่วโลกหลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ลง ซึ่งการระบาด ยังคงเป็นในลักษณะ Small Wave โดยพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น 10-20% รวมถึงผู้เสียชีวิตขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 10 รายต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ซึ่งหากเป็นไปตามคาดการณ์จะค่อย ๆ ลดลงช่วงหลังปีใหม่ ส่วนแนวทางการรักษา ยังใช้แนวทางการรักษาเดิม คือ เป็นการรักษาผู้ป่วยนอก ให้ผู้ป่วยกลุ่มไม่มีอาการรับยาและรักษาที่บ้าน / สำหรับผู้ที่เสียชีวิตก็จะต้องไปสืบหาสาเหตุการเสียชีวิตว่ามีปัจจัยโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่
นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ คาดการณ์ว่า ยอดผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักเข้าไอซียูจะเพิ่มขึ้น แต่คงไม่ถึงขั้นที่จะเกิดสถานการณ์เตียงเต็มเหมือนก่อนหน้านี้ เนื่องจากจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนในไทยมีมากขึ้น ช่วยบรรเทาความเร็วแรงของโรค ส่วนสาเหตุที่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมีสายพันธุ์ใหม่เข้ามา ซึ่งแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น คือสายพันธุ์ BA.2.75 จากอินเดีย ซึ่งคาดว่าไม่นานจะเข้ามาแทนที่ สายพันธุ์ BA.4.5 ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนเกิน 4 เดือนแล้ว ไปรับเข็มกระตุ้น
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ทุก รพ.จัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ ซึ่งในส่วนของวัคซีนโควิดและภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ที่ส่งไปทั่วประเทศยังเพียงพอ
สำหรับการฉีดวัคซีนขอแนะนำให้ฉีดถึงเข็มกระตุ้น ซึ่งตั้งแต่เข็ม 3 ขึ้นไป แต่พบว่ารับเข็ม 3 เกิน 4 เดือน บางคนภูมิคุ้มกันจะลดลง เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ผู้สูงอายุ คนมีโรคประจำตัว และเด็ก 6 เดือนถึง 4 ปี ควรไปฉีดวัคซีน
ส่วนผู้เสียชีวิตขณะนี้เกือบ 100% อายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว ปัจจัยที่พบคือ มักไม่ได้วัคซีนหรือรับ 1-2 เข็มประมาณ 70% ขึ้นไป ซึ่งพยายามกระตุ้นกลุ่ม 608 ที่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ให้ไปรับบริการฉีดวัคซีนด้วย