ส่อง “สัตว์ป่าหายาก” จากอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิด ภาพสัตว์ป่าจากอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลากหลายชนิด กลางป่าลึก ด้วยระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ หรือ Smart Patrol System

อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง เผยภาพสัตว์ป่าในพื้นที่ ระบุ "อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  สีสันแห่งพงไพร ร่วมรักษาไว้ ให้อยู่คู่แผ่นดิน" เมื่อเราได้เห็นสัตว์ป่าได้ดำรงชีวิตในพื้นที่ป่าอย่างมีความสุข นั่นก็แสดงว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานและทุ่มเทแรงกาย แรงใจ อย่างเต็มที่ แล้วรู้หรือไม่ว่า? กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการพัฒนาและนำระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพมาใช้ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของไทย

ทำงานวันแรก "อรรถพล" เผย "วราวุธ" ย้ำ เข้าแก้ปัญหาทุจริต ในกรมอุทยานฯ

มูลนิธิสืบฯเปิดข้อมูล"รัชฎา"นั่งอธิบดี 1 ปี เปลี่ยนแปลงหัวหน้าอุทยานแล้ว 80 คน

สำหรับระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ หรือ Smart Patrol System เป็นระบบที่ทันสมัยโดยใช้ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เราเรียกระบบฐานข้อมูลนี้ว่า สมาร์ท SMART (Spatial Monitoring And Reporting Tool) โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือให้เจ้าหน้าที่มีข้อมูลและเทคโนโลยีดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ มีกำลังใจที่เข้มแข็ง และมีความภูมิใจในหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ป่า เป้าหมายสูงสุดของระบบนี้ ก็เพื่อให้สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่มีค่าและใกล้สูญพันธุ์รอดพ้นจากการทำลายโดยมนุษย์ และให้สัตว์ป่าและพันธุ์พืชทำหน้าที่ดำรงรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่สังคมโดยรวมตลอดไป

การลาดตะเวนเชิงคุณภาพ คือ ระบบการเดินลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าประเทศไทย (WCS) เพื่อเสริมศักยภาพทั้งในการป้องกัน การปราบปราม และการจัดการพื้นที่โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (GIS) การจัดระบบการเก็บ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปแบบเดียวกันในทุกพื้นที่

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ มีการพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนสามารถบันทึกข้อมูลได้ตามมาตรฐานสากล โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน 

  • การเตรียมการมาตรฐานข้อมูล คือ ต้องมีการกำหนดชนิดข้อมูล ตามแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ชนิดสัตว์ป่าหรือพืชที่ต้องการจะถูกกำหนดลงในโครงสร้างของข้อมูล และมาตรฐานการเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มจะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่
  • การบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจะดำเนินการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการลาดตระเวน โดยจะมีการกำหนดพื้นที่ในการลาดตระเวนแบ่งส่วนการจัดการพื้นที่ให้ชัดเจน ตามพื้นที่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานหรือหน่วยพิทักษ์ป่ารับผิดชอบ
  • จัดฝึกอบรมเจ้าหน้ามี่ผู้ปฏิบัติงานลาดตระเวน เพื่อให้มีความเข้าใจในจุดประสงค์ของการลาดตระเวน ตลอดจนมีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียมหรือ GPS การใช้กล้องถ่ายรูป Digital ความรู้เกี่ยวกับการวัดขนาดร่องรอยสัตว์ป่า การกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานลาดตระเวนออกตรวจลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบตามแผนที่กำหนดและเก็บข้อมูล ข้อมูลดิบถูกบันทึกในแบบฟอร์มมาตรฐาน (Data Form) การนำเข้าข้อมูล การถ่ายโอน การจัดเก็บเป็นระบบ การวิเคราะห์และรายงาน มีข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการ (Information) การดำเนินการจัดการตามข้อมูลที่วิเคราะห์แล้ว ซึ่งนำไปสู่ การตัดสิน การวางแผน การดำเนินการ และการบังคับใช้กฎหมาย

ทั้งหมดนี้เพราะเป้าหมายสูงสุดของระบบนี้คือการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นจึงเป็นเหตุผลหลักที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ นำมาใช้กับภารกิจด้านการดูแลป้องกันทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยทุกคนให้คงอยู่สืบต่อไป

คอนเทนต์แนะนำ
พบหลักฐานหายาก! ไดโนเสาร์เคยกิน “สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” เป็นอาหาร
กฎหมายใหม่รัฐนิวยอร์ก “ห้ามขายสัตว์เลี้ยง” ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป

 

ที่มา :  ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

คอนเทนต์แนะนำ
สวนสัตว์ฟินแลนด์เตรียมส่งแพนด้ากลับจีน อ้างปัญหาการเงิน
16 ปีที่ผ่านมา สายพันธุ์สัตว์บนโลกที่ถูกคุกคาม เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า!

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ