ด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน
จึงสมควรปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
สภาพอากาศวันนี้! ทั่วไทยอากาศร้อน สูงสุด 38 องศา ส่วนใต้มีฝนลดลง
13 กุมภาพันธ์ “วันรักนกเงือก” สัตว์ที่ถูกคุกคามจากความเชื่อ
เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม
ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีการร่างกฎกระทรวง “กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ...” ขึ้นมาใหม่
มีใจความสำคัญ ระบุว่า ร่างกฎกระทรวงนี้จะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่ละคนให้กำหนดขั้นต่ำ ขั้นสูง ดังต่อไปนี้
(1) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
(2) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
(3) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท
หมายความว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 บางกรณีจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม แต่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท จะไม่ได้รับผลกระทบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ค่าจ้าง 15,000 บาท
ปัจจุบัน : 750 บาท/เดือน
ปี 2567-2563 : 750 บาท/เดือน
ปี 2570-2572 : 750 บาท/เดือน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 750 บาท/เดือน
ค่าจ้าง 17,500 บาท
ปัจจุบัน : 750 บาท/เดือน
ปี 2567-2563 : 875 บาท/เดือน
ปี 2570-2572 : 875 บาท/เดือน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 875 บาท/เดือน
ค่าจ้าง 20,000 บาท
ปัจจุบัน : 750 บาท/เดือน
ปี 2567-2563 : 875 บาท/เดือน
ปี 2570-2572 : 1,000 บาท/เดือน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 1,000 บาท/เดือน
ค่าจ้าง 23,000 บาท
ปัจจุบัน : 750 บาท/เดือน
ปี 2567-2563 : 875 บาท/เดือน
ปี 2570-2572 : 1,000 บาท/เดือน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 1,150 บาท/เดือน
แต่ไม่เพียงผู้ประกันตนมาตรา 33 จะจ่ายเงินสมทบสูงเพิ่มขึ้นเท่านั้น ยังรวมถึงนายจ้างและรัฐบาลด้วย
สิทธิประโยชน์เพิ่ม หลังปรับขึ้นเพดานเงินสมทบ
สำหรับประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตน คือทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นเนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้
(1) เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
(2) เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ 70% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
(3) เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
(4) เงินสงเคราะห์กรณีตาย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
(5) เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน 50% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
(6) เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้าง ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน
ส่วนเงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้นจากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เจ็บป่วย
ปัจจุบัน : 250 บาท/วัน
ปี 2567-2569 : 292 บาท/วัน
ปี 2570-2572 : 333 บาท/วัน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 383 บาท/วัน
ทุพพลภาพรุนแรง
ปัจจุบัน : 7,500 บาท/เดือน
ปี 2567-2569 : 8,750 บาท/เดือน
ปี 2570-2572 : 10,000 บาท/เดือน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 11,500 บาท/เดือน
คลอดบุตร
ปัจจุบัน : 22,500 บาท/ครั้ง
ปี 2567-2569 : 26,250 บาท/ครั้ง
ปี 2570-2572 : 30,000 บาท/ครั้ง
ปี 2573 เป็นต้นไป : 34,500 บาท/ครั้ง
เสียชีวิต
ปัจจุบัน : 30,000 บาท
ปี 2567-2569 : 35,000 บาท
ปี 2570-2572 : 40,000 บาท
ปี 2573 เป็นต้นไป : 46,000 บาท
บำนาญ (ส่งเงิน 15 ปี)
ปัจจุบัน : 3,000 บาท/เดือน
ปี 2567-2569 : 3,500 บาท/เดือน
ปี 2570-2572 : 4,000 บาท/เดือน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 4,600 บาท/เดือน
บำนาญ (ส่งเงิน 25 ปี)
ปัจจุบัน : 5,250 บาท/เดือน
ปี 2567-2569 : 6,125 บาท/เดือน
ปี 2570-2572 : 7,000 บาท/เดือน
ปี 2573 เป็นต้นไป : 8,050 บาท/เดือน
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งจะยาวไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ นายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 ยังสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมายได้ คลิก
คุณหมอสาวโวยบัตรเครดิตถูกแฮก สูญนับแสนบาท ร้องแบงก์ช่วย ให้รอนาน 3-7 วัน
7 ร้านอาหารอร่อยรับ วาเลนไทน์ 2566 คนโสดนั่งคนเดียวได้ ไม่เหงาอีกต่อไป