อ.เจษฎ์ เชื่อ ซีเซียม-137 ยังไม่กระทบในวงกว้าง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ประเด็นสำคัญของการพบฝุ่นเหล็กปนเปื้อนซีเซียม-137 คือ การหลอม มีควัน ที่มีซีเซียม-137 หลุดลอดออกไปด้วยหรือไม่ พีพีทีวี ได้จาก กับ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการหลอมโลหะ และ การกำจัดกากอุตสาหกรรม บอกว่า การหลอมทุกแบบมีควัน ขึ้นอยู่กับว่า มากหรือน้อย ขณะที่ เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันหลายครั้งตลอดการแถลงข่าว บอกว่า การหลอมเหล็กใช้ระบบปิด ไม่มีอะไรเล็ดลอดออกมา

จากการแถลงข่าววันนี้ 20 มี.ค. 2566  เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ย้ำหลายครั้งว่า ตรวจสอบแล้ว ไม่พบการเล็ดลอดของสารซีเซียม-137 ออกนอกโรงงาน เพราะ ตรวจสอบแล้วไม่พบสารปนเปื้อน นอกรัศมี 5 กิโลเมตร

ด้านรศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า เรื่องควันเป็นเรื่องน่ากังวล แต่หาก เจ้าหน้าที่ ยืนยันว่า ไม่มีการปล่อยควัน ก็อาจทำให้ คลายความกังวลลงระดับหนึ่ง 

สธ.ปราจีนบุรี เผย เตรียมตรวจร่างกายคนงาน ที่สัมผัสซีเซียม 137 เพื่อประเมินอาการ

ย้อน 37 ปี หายนะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เชอร์โนบิล”

เพราะหากใช้เตาเผาทั่วไป มีโอกาสสูงที่จะมีไอระเหย หรือ ฝุ่นควัน ออกไปสู่ชั้นบรรยากาศข้างนอก หรือลอยไปตามกระแสลม ซึ่งไม่อาจคาดการณ์ได้ว่ามันจะลอยไปไกลแค่ไหน

ส่วนกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุด และควรได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน รศ.เจษฎา มองว่า คือ คนที่ทำงานในโรงงาน เพราะ ถือเป็น กลุ่มที่มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับสารซีเซียมโดยตรง เช่น การหายใจเข้าไป นำเข้าปาก หรือเปื้อนเสื้อผ้า แล้วติดไปยังบ้านที่อยู่อาศัย ก็มีสิทธิ์ทำให้ตัวสารนั้นไปตกค้าง และแผ่รังสีอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งอายุของสารครึ่งชีวิตอยู่ที่ 30 ปี หากปริมาณมากรวมกัน ก็สามารถอยู่ได้เป็นร้อยๆ ปี กว่าจะสลายไป ดังนั้นเราจึงต้องคอยมอนิเตอร์กลุ่มเสี่ยงต่อ เพราะวันนี้อาจจะยังไม่เห็นข่าวผู้ป่วยหรือได้รับผลกระทบ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีแล้ว แต่เราก็ไม่รู้ว่าในระยะยาว จะมีใครที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง เนื่องจากได้รับรังสีเป็นจำนวนมากกว่าปกติที่ควรได้รับทุกวันหรือไม่ แต่ยืนยันสำหรับประชาชนทั่วไป เช่น ในกทม. หรือ จังหวัดข้างเคียง ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิด ยังไม่มีอะไรน่ากังวลขนาดนั้น

โดย อ.เจษฎา ยังชี้แจงเพิ่มเติมสำหรับใครที่ยังกังวลอยู่ บอกว่า ปกติ คนเราก็ได้รับรังสีต่างๆ ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น รังสี UV จากแสงแดด แต่สำหรับสารซีเซียม ที่จะส่งผลต่อสุขภาพนั้น คือ ต้องอยู่ในพื้นที่ที่สารแผ่รังสีอยู่ทุกวัน ในระยะ 3 เมตรขึ้นไป โดยรังสีนี้จะเข้าไปทำลาย DNA ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ หรือเป็นที่มาของมะเร็งในที่สุด

ส่วนเรื่องที่ว่าตัวสารจะกระจายไปตามสิ่งแวดล้อม เช่น ต้นไม้ หรือในน้ำ แล้วหากคนหรือสัตว์ไปสัมผัส จะได้รับผลกระทบในส่วนนี้ด้วยหรือไม่นั้น

อ.เจษฎา บอกว่า ถ้ามีเรื่องของการปล่อยควัน มันเกิดผลกระทบแน่นอน เช่น ไปติดตามใบหญ้า พอแม่วัวกินหญ้า ต่อมาตรวจเจอสารกัมมันตรังสีในน้ำนมวัวก็เคยมีมาแล้ว แต่ในเคสนี้ยังไม่ถึงขั้นนั้น ถ้าอิงตามการแถลงของปส.อย่างที่บอก ซึ่งหลังจากนี้ คงต้องรอทาง ปส. ที่ต้องคอยตรวจวัดค่ารังสีอย่างเข้มงวด ว่า พบสารในบริเวณใด ปริมาณเท่าไหร่บ้าง ก่อนให้ข้อมูลและความชัดเจนกับประชาชน เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ประชาชนกังวลไปแล้ว

ทั้งนี้ แม้ว่า เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จะยืนยันว่าการหลอมเหล็กใช้ระบบปิด แต่พีพีทีวี คุยกับ ผู้เชี่ยวชาญการกำจัดกากอุตสาหกรรม และ คุ้นเคยกับโรงงานอุตสาหกรรมที่หลอมเหล็ก บอกกับเราว่า เตาเผาขยะในไทยทุกที่ คือระบบปิด (ปิดคือตอนเผาไม่มีใครเห็น)  คล้ายเตาเผาศพ แต่ทุกเตามีควันเหมือนกันหมด ขึ้นอยู่กับว่า จะมีควันมากหรือควันน้อย

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ