รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นได้ "ราชการไทยต้องโปร่งใสก่อน"

โดย PPTV Online

เผยแพร่

หลังรัฐบาลใหม่นำโดยพรรคก้าวไกล วางเป้าหมายต้องการให้ประเทศไทยมีระบบรัฐสวัสดิการแบบยุโรป ทำให้เกิดประเด็นคำถาม ว่า ประเทศไทยทำได้จริงหรือไม่ ทางนักวิชาการ มองว่า อาจต้องใช้เวลาอีกถึง 10 ปี แนะให้ทำสังคมสวัสดิการ ทำได้ง่ายกว่าและมีความเป็นไปได้มากกว่ารัฐสวัสดิการ

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลใหม่วางเป้าหมายต้องการให้ประเทศไทยมีระบบรัฐสวัสดิการแบบยุโรปเหนือ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน ประเทศไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบราชการไทยครั้งใหญ่ให้โปร่งใสมีประสิทธิภาพ ด้วยการกระจายอำนาจการจัดระบบสวัสดิการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เลือกตั้ง 2566 : เลือกตั้งใหม่นครปฐม "ก้าวไกล"คะแนนนำ แต่ไล่ไม่ทัน

เลือกตั้ง 2566 : สะพัด “บิ๊กป้อม” จ่อทิ้งพปชร. เปิดทาง ส.ส.ย้ายพรรค

พร้อมทั้งต้องปฏิรูปรายได้ภาครัฐและเพิ่มภาษี เพราะประเทศไทยมีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีเพียงแค่ 14% เท่านั้น

ยังห่างไกลต่อการมีฐานะทางการคลังที่สามารถสนับสนุนรัฐสวัสดิการแบบเต็มรูปแบบอย่างสแกนดิเนเวีย ที่สัดส่วนรายได้ภาษีอยู่ที่ระดับ 42-48.9% ของจีดีพี

นอกจากนี้ รัฐบาลต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการสังคม หากเทียบกับประเทศสวีเดนหรือเดนมาร์กมีรายจ่ายเพื่อสวัสดิการสังคมต่อหัวมากกว่าไทย ถึง 600 เท่า ซึ่งการยกระดับประเทศไทยสู่ระบบรัฐสวัสดิการจึงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

ดังนั้นแนะนำให้รัฐบาลใหม่ปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม มุ่งไปที่การลดช่องว่างทางรายได้ การแก้ความยากจนและสร้างความเป็นธรรมทางสังคม จะมีความเป็นไปได้มากกว่า

ด้านนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มองว่า เรื่องรัฐสวัสดิการ เป็นเรื่องที่ต้องดูอย่างละเอียด เนื่องจากประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากในแง่ของการหารายได้ ขณะที่ต่างประเทศที่มีรัฐสวัสดิการนั้นจัดเก็บภาษีค่อนข้างสูง ในขณะที่ประเทศไทยฐานภาษีค่อนข้างแคบ หากจะทำรัฐสวัสดิการจริงต้องพุ่งเป้าให้ชัดเจนว่าทำให้คนกลุ่มไหน มีปัญหาอย่างไร ต้องช่วยเหลืออย่างไร ไม่ใช่ให้สวัสดิการถ้วนหน้าเท่ากันทุกคน เพราะเสี่ยงต่อฐานะการเงินการคลังในระยะยาว

ส่องนโยบาย "รัฐสวัสดิการ" เพื่อสิทธิความเท่าเทียมแก้เหลื่อมล้ำ

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ