คนขับรถตู้รับส่งนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า ไม่ใช่แค่รถบรรทุกบนทางหลวงที่โดนเรียกเก็บส่วยฯ แต่รถตู้รับส่งนักเรียนแต่ละหมู่บ้านทั่วทั้งจังหวัดชัยภูมิ ก็โดนเก็บส่วยเช่นกัน
รถที่จะได้รับอนุญาตให้วิ่งรับส่งนักเรียนตามหมู่บ้านต่างๆทุกคัน จะต้องผ่านการตรวจสภาพรถฯ กับกรมการขนส่งฯ ทั้งตัวคนขับ และตัวรถให้ได้มาตรฐาน เช่น ต้องมีถังดับเพลิง ค้อนทุบกระจก ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ
"โรม"ซัด"ส่วยรถบรรทุก"ช่องทางหาเงินซื้อตั๋วช้าง
ผบ.ตร. ยอมรับมี “ส่วยสติกเกอร์”จริง สั่งตั้งชุดเฉพาะกิจตรวจลุยสอบ
และมีข้อจำกัดว่า รถคันหนึ่งต้องมีนักเรียนบนรถไม่เกิน13 คน เพื่อไม่ให้แออัดเกินไป แต่ส่วนมากยอมจ่ายเงิน เพื่อจะได้บรรทุกนักเรียนเพิ่มถึง 20 คน
แต่รถนักเรียนส่วนใหญ่ ไม่ได้ขออนุญาตถูกต้องจากกรมการขนส่งทางบกอยู่แล้ว เวลาเปิดเทอม จะมีคนของนายทุนใหญ่ เจ้าของเส้นทางสัมปทานรถโดยสารฯ จะส่งคนเข้าไปเช็คแต่ละโรงเรียนว่า ที่นี่มีรถตู้วิ่งรับส่งนักเรียนกี่คัน มีใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่
ก่อนเรียกให้จ่ายเงินค่าสัมปทานเส้นทาง และจ่ายค่าดูแลเจ้านายฯ เป็นค่าแรกเข้าวิ่งจ่าย 5,000 บาทต่อเทอม และต้องเป็นรายเดือนเดือนละ 200 บาทต่อคัน
จากนั้น ตัวแทนเก็บส่วยจะให้หมายเลขโทรศัพท์ของตัวแทนนายทุนใหญ่เจ้าของสัมปทานเส้นทางฯไว้ หากขับรับส่งนักเรียนไปตามที่ต่างๆจะไม่โดนโบก แต่ถ้าไม่รถคันไหนไม่จ่าย ก็จะเจอโบกเช้า-โบกเย็น ส่วนเงินดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปให้นายทุนเดินรถฯ ใหญ่อีกที
คนขับรถตู้ บอกว่า ทุกวันนี้เก็บค่ารายเดือนกับเด็กนักเรียนรายละ 800-900 บาทเท่านั้น หากบรรทุกนักเรียนได้เพียง 10-13 คนก็จะไม่คุ้มพอค่านน้ำมัน จึงจำเป็นต้องยอมจ่ายส่วย
พร้อมวอนให้ผู้มีอำนาจแก้ปัญหา ให้ตัวแทนนายทุนใหญ่หยุดเก็บส่วย เพื่อไม่เพิ่มภาระของเจ้าของรถ และพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กนักเรียนจะได้จ่ายค่ารถถูกลงมาอีก
เฉพาะในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ มีผู้ประกอบการคนขับรถตู้รับส่งนักเรียนกว่า 1,000 คันและมีมากที่สุดในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ