จาก กรณีเหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งเมียนมาเกิดแรงสั่นสะเทือนรับรู้ถึงอาคารสูงในกรุงเทพฯ นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม.กล่าว ติดตั้งเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่ชั้น 36 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม.2 เขตดินแดง เพื่อตรวจวัด บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ และแจ้งเตือนกรณีมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น
โดยส่งเจ้าหน้าที่สุ่มสำรวจตรวจสอบอาคารที่อาจได้รับผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหว พบว่า
ไม่มีอาคารใดได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ข้างต้น โดยสรุปแล้วแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่ทำให้คนรู้สึกได้ชัดเจนและเกิดความวิตกต่อผู้ใช้อาคาร แต่ยังไม่รุนแรงพอที่จะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายของโครงสร้างอาคารได้
แผ่นดินไหวทางใต้ของเมียนมา ตึกสูงในกทม.-นนทบุรีรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน
คนกรุงฯแตกตื่น!แผ่นดินไหว ตึกสูงทั่วกทม.-ปริมณฑลสั่นไหวจนรู้สึกได้
สำหรับเจ้าของอาคาร 9 ประเภทที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมโยธาธิการและผังเมืองและยื่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร ประกอบด้วย
- อาคารสูง (อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป
- อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) ขึ้นไป
- อาคารชุมนุมคน (อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม.ขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป)
- โรงมหรสพ โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้น
- สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตร.ม.ขึ้นไป
- อาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไป
- โรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตร.ม.ขึ้นไป
- ป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.ม.ขึ้นไป
- ป้ายที่ติดตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้า หรือส่วนของอาคารที่มีพื้นที่ 25 ตร.ม.ขึ้นไป