อุกกาบาต! สดร.คาดดาวตกสีเขียวปรากฏเหนือท้องฟ้า เป็น “ดาวตกชนิดลูกไฟ”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ลูกไฟสีเขียวที่ปรากฏเหนือท้องฟ้าคืนวันที่ 4 มี.ค.67 แถบภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย ทาง สดร.คาดว่าเป็นดาวตกชนิดลูกไฟ

ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอและภาพถ่ายบนโลกออนไลน์ ปรากฏเป็นลูกไฟสีเขียวขนาดใหญ่วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าเป็นแนวยาวในช่วงคืนวันที่ 4 มี.ค.67 เวลาประมาณสามทุ่มเศษ ทำให้มีผู้พบเห็นเป็นจำนวนมากในจังหวัดแถบภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย อาทิ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบรี ชลบุรี สมุทรสาคร นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา จากข้อมูลดังกล่าว ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คาดการณ์เบื้องต้นว่า เป็นดาวตกชนิดลูกไฟ

แห่แชร์ภาพ "ลูกไฟสีเขียว" สมาคมดาราศาสตร์ไทยเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง

ราคาทองวันนี้ (5 มี.ค. 2567) เปิดการซื้อขาย ทะยานรวดเดียว 450 บาท

โออาร์-บางจากปรับราคาน้ำมัน ลง 30 สต. กลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ทุกชนิด

อุกกาบาต! สดร.คาดดาวตกสีเขียวปรากฏเหนือท้องฟ้า เป็น “ดาวตกชนิดลูกไฟ” Facebook / NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ชื่อเรียกวัตถุบนท้องฟ้า
ด้านนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) กล่าวว่า ดาวตก (Meteorite) เกิดจากการที่วัตถุท้องฟ้าขนาดเล็กผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก เสียดสีกับชั้นบรรยากาศในระดับความสูงประมาณ 80-120 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นแสงสว่างวาบพาดผ่านท้องฟ้า ยิ่งวัตถุมีขนาดใหญ่ ยิ่งทำให้ความร้อนและแสงสว่างที่เกิดขึ้นมากตามไปด้วย ซึ่งจากคลิปวิดีโอและภาพถ่ายบนโลกออนไลน์ ดาวตกที่ปรากฏมีขนาดใหญ่และสว่างมาก ความสว่างมีความใกล้เคียงกับดาวศุกร์ จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นดาวตกชนิดลูกไฟ (Fireball) ทั้งนี้ แสงสีเขียวของดาวตก สามารถบ่งบอกได้ว่ามีธาตุนิกเกิล ซึ่งเป็นธาตุโลหะส่วนประกอบของดาวตก

อุกกาบาต! สดร.คาดดาวตกสีเขียวปรากฏเหนือท้องฟ้า เป็น “ดาวตกชนิดลูกไฟ” Facebook / NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
สีของดาวตก
ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อสีของดาวตก คือ เศษหินและฝุ่นของดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งเข้ามาชนกับชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูงมาก เกิดเป็นการเสียดสีและเผาไหม้ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่าง ๆ เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสองปัจจัย ได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี และโมเลกุลของอากาศโดยรอบ

โดยในแต่ละวันจะมีวัตถุขนาดเล็กผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกเป็นจำนวนมาก เราสามารถพบเห็นได้เป็นลักษณะคล้ายดาวตก และยังมีอุกกาบาตตกลงมาถึงพื้นโลกประมาณ 44 - 48.5 ตันต่อวัน แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ห่างไกลผู้คน เราจึงไม่สามารถพบเห็นได้ เรื่องดาวตกที่พาดผ่านบนท้องฟ้าถือเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

เปิดใจ 2 ผู้เสียหาย ถูกกะเทยฟิลิปปินส์ รุมทำร้ายในซ.สุขุมวิท 11

อุกกาบาต! สดร.คาดดาวตกสีเขียวปรากฏเหนือท้องฟ้า เป็น “ดาวตกชนิดลูกไฟ”

จบคดีสุดท้าย! ยิ่งลักษณ์ ลุ้นเดินตามรอยทักษิณกลับไทย

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ