นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเกิดดินโคลนถล่มทับบ้านเรือนบริเวณเทือกเขานาคเกิด ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย
โดยจุดที่ตรวจสอบเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคาคีรี หรือพระใหญ่ และสถานที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าการก่อสร้างได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่
ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า สิ่งปลูกสร้างบนเทือกเขานาคเกิด ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต และกรมป่าไม้ ยื่นคำขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 15 ไร่ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 23 มิ.ย.2563 อยู่ระหว่างการพิจารณาการอนุญาตของกรมป่าไม้ มีวัตถุประสงค์ให้พระสงฆ์มาดูแลป่าเพื่อเป็นแหล่งรวมจิตใจของมนุษย์เพื่อรักษาป่า
แต่พบมีการใช้ประโยชน์เกินพื้นที่ที่ขออนุญาต เกินมา 5 ไร่ 19 ตารางวา อยู่ในเขตป่าไม้ถาวร ป่าควนเขานาคเกิด และในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานาคเกิด โดยมีการสร้างลานจอดรถและสิ่งปลูกสร้าง 6 รายการ ความเสียหายเบื้องต้นเป็นเงิน 344,462.70 บาท
"เทพบิว" ภูริพล เข้าชิงชนะเลิศ วิ่ง 100 เมตร กรีฑาเยาวชนโลก
“พีพีทีวี” พร้อมยิงสด! พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024
มรสุมกำลังแรงขึ้น-ร่องมรสุมเลื่อนต่ำลง จับตาหย่อมความกดอากาศต่ำ!
เบื้องต้นทราบว่า ดำเนินการโดยมูลนิธิแห่งหนึ่ง เข้าข่ายการกระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้จึงเข้าแจ้งความกับ สภ.กะรน จังหวัดภูเก็ต เพื่อดำเนินคดี และให้ตรวจสอบว่า เป็นจุดที่เกิดดินโคลนถล่มหรือไม่
ทั้งนี้มีรายงานว่า ประธานมูลนิธิผู้สร้างพระใหญ่ ยืนยันได้รับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ถูกต้องและพยายามเผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษาสภาพต้นไม้ใหญ่ไว้ ส่วนกรณีดินโคลนถล่มไปด้านล่างระบุว่า ช่วงเกิดเหตุฝนตกหนัก ซึ่งหากมีการตรวจสอบก็ยินดีรับฟัง ส่วนการสร้างพระใหญ่ ดำเนินการโดยวิศวกร โดยคำนวณฐานรากของพระใหญ่ให้รองรับแรงสั่นสะทือนได้ถึง 10 ริกเตอร์ เพื่อให้เกิดความมั่นคง ยืนยันว่าบนพระใหญ่ไม่มีดินโคลนถล่ม