เกิดประเด็นถกเถียงในโลกโซเชียล หลังเพจคำไทย ได้โพสต์ข้อความการเขียนคำว่า "กวยจั๊บ" ที่ถูกต้องที่เดิมเรามักเขียนว่า "ก๋วยจั๊บ" ขณะที่ล่าสุดอย่าง ก๊วยเตี๋ยว - ก๋วยเตี๋ยว เขียนได้ 2 แบบ
โดยเมื่อวันที่ 7 มกราคม ปี 2562 สำนักราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ... ให้ความรู้เกี่ยวกับการสะกดคำว่า “ก๊วยเตี๋ยว – ก๋วยเตี๋ยว” สามารถใช้ได้ทั้ง 2 คำ โดยอ้างอิงจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่เก็บไว้ทั้ง 2 คำ
ต่อมามีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยตั้งคำถามว่า ทำไม “xxxเตี๋ยว” ถึงสะกดด้วยวรรณยุกต์ 2 แบบ แต่คำว่า “xxxจั๊บ” กลับไม่ให้มีวรรณยุกต์ ทั้งที่ทั้ง 2 คำยืมมาจากภาษาจีน ที่ใช้อักษรจีนคำเดียวกัน ซึ่งสำเนียงจีนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ คนไทยได้ยินและยืมคำมาใช้ จึงผันเสียงคลาดเคลื่อน จึงเกิดความสงสัยว่าใช้เกณฑ์มาตรฐานพิจารณาอย่างไร
วันหยุดปีใหม่ 2568 เพิ่มวันหยุดพิเศษ วางแผนหยุดยาว 5 วันรวด
หนุ่ม กรรชัย แฉ!คลิปนักร้องชื่อดัง ตบทรัพย์ดิไอคอน 20 ล้าน
ตารางการประกวด "Miss Universe 2024" เช็ก 3 รอบสำคัญ เชียร์ "โอปอล สุชาตา" คว้ามง!
ในวันนั้นราชบัณฑิตยสภา ได้เข้ามาชี้แจงว่า “ความลักลั่นของ กวยจั๊บ กับ ก๋วยเตี๋ยว เกิดขึ้นตั้งแต่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2473 แล้วครับ ซึ่งก็ไม่ทราบเหตุผลของคณะกรรมการชำระปทานุกรม/พจนานุกรมในสมัยนั้น (เกือบ 70 ปี ที่แล้ว) เหมือนกันว่า ทำไมถึงไม่ใช้ ก๋วยจั๊บ กับ ก๋วยเตี๋ยว ทั้งที่ทำมาจากเส้นข้าวเหมือนกัน (ไม่สามารถสืบค้นได้จากทั้งเอกสารและตัวบุคคล) ซึ่งคำว่า กวยจั๊บ นี้ในพจนานุกรมฉบับต่อไปน่าจะมีการชำระ โดยเก็บจากคำที่มีการใช้งานจริงในปัจจุบัน”