เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช เส้นทางพระราชา จากพระเจ้าตากถึงสมเด็จพระปิยะมหาราช และในหลวง ร.9

โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

เผยแพร่

.

นครศรีธรรมราช ดินแดนที่มิใช่เพียงเมืองโบราณเก่าแก่ธรรมดา แต่เป็นอาณาจักรที่มีความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาอย่างยาวนาน ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านสุขผ่านทุกข์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่ยังคงรักษาแก่นแท้แห่งวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของความเป็นเมืองพุทธศาสนาเอาไว้ได้อย่างงดงาม 

ตำนานพระเจ้าตาก: ความผูกพันที่มากกว่าประวัติศาสตร์
เรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเมืองนครศรีธรรมราช เป็นมากกว่าบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นตำนานที่หล่อหลอมจิตวิญญาณของผู้คนในแผ่นดินนี้มา

คอนเทนต์แนะนำ
60 ปีเขื่อนภูมิพล: บทเรียนสำคัญสำหรับการจัดการน้ำของไทย
โรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย มรดกแห่งการพัฒนาที่ยังมีลมหายใจ

เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช

หลายชั่วอายุคน เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310 ในยามที่บ้านเมืองอยู่ในความโกลาหล เจ้านครหนู ผู้ปกครองนครศรีธรรมราชในขณะนั้น ได้แยกตัวเป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์นี้ พระเจ้าตากสินทรงทราบถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ในการรักษาบ้านเมือง ทรงมีพระเมตตาต่อเจ้านครหนู แทนที่จะลงพระอาญา กลับทรงนำตัวไปช่วยราชการที่กรุงธนบุรี เพื่อรักษาบ้านเมืองให้พ้นจากความวุ่นวาย 

“ไบเดน” ไฟเขียวยูเครนใช้ขีปนาวุธ ATACMS ของสหรัฐฯ ถล่มรัสเซีย!

อิสราเอลทำลายโรงงานอาวุธนิวเคลียร์ลับของอิหร่าน

"บันยาญ่า" เข้าวินสนามสุดท้าย "มาร์ติน" ผงาดคว้าแชมป์โลก โมโตจีพี 2024

เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช
ระหว่างที่ประทับอยู่ที่เมืองนครเป็นเวลาสามเดือน พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และทรงสร้าง "ทางเดินพระเจ้าตาก" ใต้วิหารทับเกษตร อันเป็นทางจงกรมสำหรับปฏิบัติธรรม สะท้อนให้เห็นถึงพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนา ความผูกพันระหว่างพระองค์กับเมืองนครศรีธรรมราชยิ่งแน่นแฟ้นขึ้น เมื่อเจ้านครหนูได้ถวายธิดาทั้งสอง คือหม่อมนิ่มและหม่อมปราง เป็นบาทบริจาริกา โดยหม่อมปรางได้ประสูติพระโอรสที่ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้สืบทอดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราชในเวลาต่อมา

เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช

ในความทรงจำของชาวนครศรีธรรมราช มีตำนานที่เล่าขานกันมาถึงช่วงสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่แตกต่างไปจากบันทึกในพงศาวดาร เรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาผ่านคำบอกเล่าของบรรพชนกล่าวว่า หลังจากสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2324 พระองค์มิได้สิ้นพระชนม์ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ราชการ แต่ได้เสด็จมาผนวชและปฏิบัติธรรม ณ วัดถ้ำเขาขุนพนม ร่องรอยที่สนับสนุนตำนานนี้ยังคงปรากฏให้เห็นจนถึงปัจจุบัน ณ วัดถ้ำเขาขุนพนม มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทจำลองและเครื่องลายครามโบราณจากห้องเครื่อง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกถึงความเป็นของหลวง นอกจากนี้ ที่วัดประดู่ยังมี "เก๋งพระเจ้าตาก" สถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งอย่างวิจิตรตามแบบฉบับของกษัตริย์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าตากสินมหาราช และเจ้านครน้อย

ตำนานเล่าว่า ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์ทรงเลือกที่จะใช้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ ณ ดินแดนที่เคยมีความผูกพัน ทรงปฏิบัติธรรมและสั่งสอนธรรมะแก่ผู้คนในพื้นที่ห่างไกล แม้จะไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันชัดเจน แต่เรื่องเล่านี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันอันลึกซึ้งระหว่างพระองค์กับแผ่นดินนครศรีธรรมราช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของตำนานท้องถิ่นที่ยังคงเล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

รัชกาลที่ 5: ยุคแห่งการปฏิรูปสู่ความทันสมัย

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นครศรีธรรมราชได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ การเสด็จประพาสของพระองค์ ไม่เพียงแต่สร้างความปลาบปลื้มให้แก่ชาวเมือง แต่ยังนำมาซึ่งการพัฒนาและความเจริญในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ และการค้า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคมนาคม และการค้าในพื้นที่ การเสด็จมาทรงเปิดโรงสีไฟหลวงแห่งแรกของภาคใต้ที่ปากพนัง เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมในท้องถิ่น ส่งผลให้เมืองปากพนังเติบโตขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวที่สำคัญของภาคใต้ มีการส่งออกข้าวไปยังสิงคโปร์และมาเลเซีย สร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้แก่พื้นที่ และส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบการขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำตามมา เพื่อรองรับการเติบโตทางการค้าที่เพิ่มขึ้น โดย ปล่องโรงสีไฟ ได้กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของลุ่มน้ำปากพนัง ที่ยังคงสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน

เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9: การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อราษฎร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังประสบวิกฤตซับซ้อน ทั้งน้ำท่วม น้ำเค็มรุกล้ำ และการขาดแคลนน้ำจืด กระทบต่อวิถีชีวิตของราษฎรอย่างรุนแรง พระองค์จึงพระราชทานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทั้งระบบโครงการแรกของประเทศไทย ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงศึกษาปัญหาผ่านแผนที่และข้อมูลทางวิชาการอย่างละเอียด จนสามารถพระราชทานแนวทางแก้ไขที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการจัดการน้ำ การฟื้นฟูระบบนิเวศ และการพัฒนาอาชีพของประชาชน

หัวใจของโครงการคือประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ทำหน้าที่กั้นน้ำเค็มและควบคุมระดับน้ำจืด พร้อมระบบชลประทานที่ครอบคลุมพื้นที่โดยรอบ ช่วยให้เกษตรกรสามารถทำนาได้ตลอดปี ควบคู่กับการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าพรุ เพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศ ปัจจุบัน โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังได้เปลี่ยนโฉมหน้าพื้นที่ราบลุ่มปากพนัง จากพื้นที่ประสบปัญหาซ้ำซาก กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวและพืชผลการเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ เกษตรกรมีรายได้มั่นคงจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระบบนิเวศได้รับการฟื้นฟูให้สมบูรณ์ นับเป็นต้นแบบของการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สมดังพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ "อยู่ดี กินดี" อย่างยั่งยืน

มรดกแห่งพระมหากรุณาธิคุณ: จากอดีตสู่ปัจจุบัน

วันนี้ เมื่อย่างก้าวไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์ของนครศรีธรรมราช เราจะพบร่องรอยพระมหากรุณาธิคุณที่สืบทอดผ่านหลายยุคหลายสมัย จากการฟื้นฟูบ้านเมืองในยุคพระเจ้าตาก การปฏิรูปสู่ความทันสมัยในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในสมัยรัชกาลที่ 9 และพระมหากษัตริย์ไทยทุกๆ พระองค์

นครศรีธรรมราชจึงมิใช่เพียงเมืองประวัติศาสตร์ แต่เป็นพื้นที่ที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิตที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาที่แท้จริงนั้นต้องเข้าใจรากเหง้าทางวัฒนธรรม เข้าถึงปัญหาของประชาชน และรักษาสมดุลของธรรมชาติไปพร้อมกัน ดั่งแบบอย่างที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงวางรากฐานไว้ให้แผ่นดินนี้สืบมา

เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
เปิดตำนานคู่เมืองนครศรีธรรมราช
โครงการตามรอยพระราชา ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 โดยเป็นการเผยแพร่ศาสตร์ของพระราชา และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมด้วยคุณธรรม 5 ประการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 17 เป้าหมาย ภายในปี 2030 สำหรับผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรมสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณจารุกัญญ์ โทรศัพท์ 099 397 5333 FB : ตามรอยพระราชา-The King’s Journey LINE : The King’s Journey

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ