ปัญหารถติดใน กทม. ถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่สั่งสมมานาน โดยชาว กทม. ต้องเผชิญกับวิกฤตการจราจรที่มากขึ้นทุกวัน โดยบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้สำรวจการกล่าวถึงแยกจราจรใน กทม. ที่สร้างปัญหาต่อการเดินทางมากที่สุด ผ่านทางการแสดงความคิดเห็นของชาวโซเชียล ในช่วงวันที่ 1 - 30 พฤศจิกายน 2567 ผ่านเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล DXT360 ซึ่งเป็นระบบติดตามและรวบรวมข้อมูลครบวงจร พบ 5 แยกที่มีการร้องเรียนรถติดมากที่สุด ได้แก่
รีบยืนยันตัวตน (e-KYC) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใน 26 ธ.ค.67
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 9 ภาคใต้ 10 จังหวัดระวังฝนตกหนัก
อาหารกินบ่อยเสี่ยง “ไขมันพอกตับ” ปัจจัยก่อมะเร็งตับถึงไม่ดื่มแอลกอฮอล์
แยกอโศก - เพชรบุรี (41.5%)
อยู่ในความดูแลของ สน.มักกะสัน เป็นจุดตัดของถนนสายหลักหลายเส้น และมีสัญญาณไฟจราจรหลายจุด ทำให้เกิดการสะสมของปริมาณรถจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแยกที่ได้รับการร้องเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์สูงที่สุด
ห้าแยกลาดพร้าว (18.0%)
อยู่ในความดูแลของ สน.ลาดพร้าว เป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ จึงมีปริมาณรถหนาแน่นตลอดทั้งวัน และเป็นแยกที่ได้รับการร้องเรียนมากเป็นอันดับสอง
แยกพระราม 9 (17.8%) และ แยกสาทร-สุรศักดิ์ (15.9%)
อยู่ในความดูแลของ สน.ห้วยขวาง และ สน.ยานนาวา ตามลำดับ ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจที่มีอาคารสำนักงานและสถานศึกษาจำนวนมาก ได้รับการร้องเรียนเป็นอันดับที่สามและสี่ตามลำดับ
แยกประตูน้ำ (6.1%)
อยู่ในความดูแลของ สน.พญาไท เป็นศูนย์กลางใจกลางเมืองที่มีห้างสรรพสินค้าและแหล่งช็อปปิงหลายแห่ง ส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดอย่างหนาแน่น และได้รับการร้องเรียนเป็นอันดับสุดท้ายในบรรดาแยกที่มีปัญหามากที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีการระบุเกี่ยวกับ เพจ Facebook และบัญชีโซเชียลที่ลงข่าวการจราจรมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- FM91 Trafficpro - สวพ.FM91 (26.6%)
- 1197 สายด่วนจราจร (17.3%)
- JS100 Radio - จส.100 (15.1%)
- ถนนมิตรภาพ - รถติดบอกด้วย (6.6%)
- ร่วมด้วยช่วยกัน (4.2%)
ส่วนวิธีแก้ปัญหาการจราจรใน กทม. จากการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรที่ประสบความสำเร็จ โดยการสำรวจจากเครื่องมือ Insight สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก คือ
- ระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport Systems) เป็นการบูรณาการเทคโนโลยีหลายรูปแบบ เช่น กล้องวงจรปิด และเซ็นเซอร์ตรวจวัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสัญญาณไฟจราจร ซึ่งใช้ในหลายเมืองใหญ่ เช่น สิงคโปร์ ลอนดอน และอัมสเตอร์ดัม
- กลยุทธ์การบริหารความต้องการใช้งาน (Demand Management Strategies) เป็นการออกแบบนโยบายเพื่อควบคุมปริมาณยานพาหนะบนท้องถนน เช่น
- การจัดช่องทางพิเศษสำหรับรถโดยสารสาธารณะ (Bus Lanes) ในลอนดอน
- การเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนตัวเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น ระบบ Electronic Road Pricing ในสิงคโปร์ และ ระบบ Congestion Charge Zone ในลอนดอน ที่เก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการเข้าพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาจราจรอาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเพียงงบประมาณหรือเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และที่สำคัญคือ ประชาชนที่ต้องเคารพกฎจราจร ซึ่งจะช่วยให้การจราจรคล่องตัวขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่จะยิ่งทำให้การจราจรติดขัด