จากกรณี “แบงค์ เลสเตอร์” อินฟลูเอนเซอร์คนดัง เสียชีวิตโดยมีสาเหตุคาดว่ามาจากการถูกจ้างดื่มเหล้าให้หมดแบน แลกเงิน 30,000 บาท จนเสียชีวิตเนื่องจากกระดกเหล้าปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว จนทำให้หลายคนตั้งข้อสังเกตุว่าคนที่ว่าจ้างให้ดื่มเหล้าจนเสียชีวิตจะต้องมีความผิดจากกรณีดังกล่าวด้วยหรือไม่
ล่าสุด “ทนายเป้ง” อรรณพ บุญสว่าง ทนายความชื่อดัง โพสต์ข้อความอธิบายข้อกฏหมายผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีดักงล่าวไว้อย่างน่าสนใจ
แบงค์ เลสเตอร์ เสียชีวิตหลังถูกจ้างดื่มเหล้าจำนวนมาก
รวมไว้ที่นี่ "ทางด่วน-มอเตอร์เวย์ฟรี" ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
ศาลอาญา ยกฟ้อง “ดีเจแมน-ใบเตย” คดี Forex-3D เตรียมปล่อยตัวค่ำวันนี้!
โดย “ทนายเป้ง” ระบุว่า จ้างดื่มเหล้าแล้วเสียชีวิต แม้การจ้างดื่มเหล้าจะมีลักษณะเป็นการจ้างประเภทหนึ่งเรียกว่า "จ้างทำของ" แต่การจ้างเช่นว่านี้ ไม่ใช่การจ้างทำกิจการงานใดๆ แต่จ้างเพื่อสนองความบันเทิงของผู้ว่าจ้าง ทำคอนเท้นเรียกยอดวิว ผู้ว่าจ้างได้คำนึงหรือไม่ว่า การที่จ้างนั้นเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต เพราะการดื่มสุราปริมาณมากในคราวเดียว ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าร่างกายอาจจะได้รับอันตรายเฉียบพลัน
ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อกลางปี 67 ก็เคยมีกรณีจ้างเด็ก 13 ดื่มจนเข้าไอซียูมาแล้ว กรณีจ้างพริ้ตตี้ลัลลาเบล ก็พอจะเป็นอุทธาหรณ์ได้ แต่ก็ยังมีเกิดขึ้นอีก
เข้าใจว่า ผู้ว่าจ้าง ไม่มีเจตนาประสงค์ต่อชีวิต แต่การกระทำเช่นนี้ก็เข้าข่ายการกระทำโดยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 4 ประกอบ มาตรา 291 เข้าข่าย การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อย่าไปอ้างเลยว่า ผู้รับจ้างยินยอม หยิบขึ้นดื่มเอง ถ้าไม่มี เงินค่าจ้างมาจูงใจ ถ้าไม่หวังถ่ายจะทำคอนเท้น เรื่องก็ไม่เกิด ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตครับ