กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) เปิดเผยว่า จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 20-26 ธันวาคม 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 835,680 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ ทั้งสิ้น 566 ข้อความ
โดยในจำนวนนี้เป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : เรื่อง เพจ กู้เงินด่วน กับสินเชื่อกรุงไทย เปิดช่องทางให้กู้เงิน ไม่มีมัดจำ และมีรีวิวจริง
อันดับที่ 2 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่ชื่อ ธกส
อันดับที่ 3 : เรื่อง ปปง. เปิด TikTok รับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ออนไลน์
อันดับที่ 4 : เรื่อง ธ.ก.ส. จับมือ ออมสิน ออก 3 สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ ปล่อยกู้ 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0.75%
อันดับที่ 5 : เรื่อง ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok baacbank
สรุปเหตุการณ์โศกนาฏกรรม "เจจูแอร์" ความสูญเสียครั้งใหญ่ส่งท้ายปีเกาหลีใต้
ตรวจผลรางวัลสลากออมสินพิเศษ 2 ปี งวด 229-258 วันที่ 30 ธันวาคม 2567
12 บทสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ 2568
อันดับที่ 6 : เรื่อง กระทรวงการคลังเปิดให้ยืมเงิน สูงสุดรายละ 50,000 บาท
อันดับที่ 7 : เรื่อง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รับสมัครคนพับถุงหรือแพ็กถุงจำนวนมาก ผ่านเพจสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ
อันดับที่ 8 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิดโครงการลุยแก้หนี้นอกระบบ อนุมัติทันที วงเงิน 50,000 บ. ผ่านบัญชี Tiktok scbblankth1
อันดับที่ 9 : เรื่อง ธ.ออมสิน ติดต่อแจ้งลูกค้าถูกแอบอ้างเปิดบัญชี
อันดับที่ 10 : เรื่อง รับสมัครพนักงานเสริม บริษัท งานฝีมือ จำกัด พับถุงกระดาษ รายได้ 1,200-2,200 บาทต่อวัน
เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด จาก 10 อันดับข้างต้น พบว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับ โครงการสินเชื่อของหน่วยงานรัฐ และช่องทางเยียวยาผู้เสียหายจากคดีอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อประชาชนเกิดความเข้าใจผิด และตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “เพจ กู้เงินด่วน กับสินเชื่อกรุงไทย เปิดช่องทางให้กู้เงิน ไม่มีมัดจำ และมีรีวิวจริง” กระทรวงดีอีได้ประสานงานร่วมกับธนาคารกรุงไทย กระทรวงการคลัง พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า เพจเฟซบุ๊ก กู้เงินด่วน กับสินเชื่อกรุงไทย ไม่ใช่บัญชีทางการของ ธ.กรุงไทย และ ธ.กรุงไทยไม่ได้มีการปล่อยสินเชื่อผ่านเพจดังกล่าวทั้งสิ้น
โดยเพจทางการของธนาคารกรุงไทยมีชื่อว่า Krungthai Care (https://www.facebook.com/krungthaibank) และมีสัญลักษณ์ติ๊กถูกสีฟ้าอยู่หลังชื่อเพจ ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนควรระมัดระวังในการกรอกข้อมูลและไม่ควรกดลิงก์แปลก น่าสงสัยที่ส่งโดยไม่ทราบที่มา