กรมโยธาฯ จัดตั้งศูนย์รับแจ้งตรวจสอบอาคาร เหตุแผ่นดินไหว

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กรมโยธาธิการและผังเมืองออกแถลงการณ์ "จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว" เตรียม ส่งวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ตรวจสอบ

 จากกรณีเหตุแผ่นดินไหวในช่วงบ่ายของวันที่วันที่ 28 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา ที่ส่งผลให้มีรายงานในกรุงเทพฯ เกิดเหตุอาคารที่อยู่ระหว่างก่อสร้างถล่ม 1 แห่ง และหลายแห่งเกิดตึกร้าว ทำให้ขณะนี้เกิดความกังวลว่าอาคารที่พักอาศัย หรือทำงานอยู่นั้นมีความมั่นคง สามารถรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้หรือไม่ เพียงใด

วันนี้ 29 มี.ค. 2568 กรมโยธาธิการและผังเมืองออกแถลงการณ์ "จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว" ณ กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระรามที่ 6

คอนเทนต์แนะนำ
แผ่นดินไหว กทม.ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ระดับ 2
วิธีรับมือแผ่นดินไหว เหตุเฉพาะหน้าและวิธีป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

แผ่นดินไหว กระทรวงมหาดไทย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย

โดยประสานงานกับสภาวิศวกร สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน กรุงเทพมหานคร ในการเตรียมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเร่งดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยของอาคาร โดยจะเน้น อาคารสาธารณะ อาคารชุมนุมคน

ในส่วนของอาคารบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมจะร่วมกับกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ ประเมิน ตามข้อมูลที่ได้รับผ่านแอพพลิเคชั่น Traffy Fondue (ทรัฟฟี่ฟองดู) ของกรุงเทพมหานครต่อไป

พร้อมเปิดสายด่วนสำหรับขอรับคำปรึกษาและแจ้งเหตุที่หมายเลข 022994191 และ 022994312 ตลอด 24 ชั่วโมง

ด้านนาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย กล่าวได้มอบหมายให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความกังวลใจของประชาชน โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  เปิดศูนย์รับคำร้องจากประชาชน พร้อมจะเข้าไปตรวจสอบ อาคารทุกแห่งที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

หากพบว่ามีปัญหา มีความเสี่ยง มีข้อจำกัดที่จะรองรับการเกิดแผ่นดินไหว จะมีคำสั่งให้ผู้ประกอบการอาคารชุด อาคารสำนักงาน ดำเนินการการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัยทันที ในกรณีที่พบว่าอาคารมีความไม่ปลอดภัยและไม่ดำเนินการแก้ไข จะต้องดำเนินการลงโทษตามกฎหมาย อย่างเด็ดขาด

"เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลให้ประชาชนเกิดข้อกังวลว่าอาคารที่อยู่อาศัย ที่ทำงานอยู่นั้นมีโครงสร้างอย่างใดรองรับแผ่นดินไหวได้หรือไม่ เพียงใด ผมจึงให้หน่วยงานของกระทรวงมหาดไทยเร่งเปิดช่องทางให้ประชาชนยื่นคำร้อง เข้าตรวจสอบ หากมีจุดอ่อนให้เร่งแก้ไข ขณะเดียวกันต้องเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบ ดำเนินการต่าง ๆ ให้ผู้พักอาศัยติดตามได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อลดความกังวลที่เกิดขึ้นต่อไป

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ