GISTDA พบพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับปานกลาง (G3) บริเวณประเทศไทย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

GISTDA รายงาน เหตุปะทุบนดวงอาทิตย์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับปานกลาง (G3) บริเวณประเทศไทย

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า (GISTDA) แจ้งเตือนพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับ G4 โดยรายงานว่า เมื่อวันที่ 30-31 พ.ค. 68 ที่ผ่านมา เกิดการปะทุบนดวงอาทิตย์

โดยบริเวณจุดมืด AR4100 ได้ปล่อยทั้งเปลวสุริยะ (Solar Flare) และมวลโคโรนาขนาดใหญ่ (Coronal Mass Ejection - CME) ที่มีทิศทางพุ่งตรงมายังโลก

CME ดังกล่าวถึงโลกวันที่ 1 มิ.ย. 68 และอาจก่อให้เกิดพายุสนามแม่เหล็กระดับรุนแรงหรือ G4 (NOAA scale)

คอนเทนต์แนะนำ
โฆษกทัพบกยัน กัมพูชาเคลมข้อตกลงข้อ 4 ไม่มีผลตามหลักสากล
สาวถูกอุ้มกลางถนน! รถตู้ทึบขวาง ถูกซ้อม-อุ้มหนี ตร.เมืองตราดเร่งตาม

GISTDA พบพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับปานกลาง (G3) บริเวณประเทศไทย GISTDA
GISTDA พบพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับปานกลาง (G3) บริเวณประเทศไทย

ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนำทาง ระบบการสื่อสารชั่วขณะ และการปฏิบัติการของระบบดาวเทียม นอกจากนี้ ปรากฏการณ์พายุแม่เหล็กโลกครั้งนี้จะทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงออโรรา (Aurora) หลากสีเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ใกล้ขั้วโลกและเขตละติจูดสูง สำหรับประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์นี้

ต่อมาเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 1 มิ.ย. 68 GISTDA รายงานเพิ่มเติมว่า ล่าสุดข้อมูลจากเซนเซอร์ของ GISTDA ตรวจพบพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับปานกลาง (G3) บริเวณประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปะทุของ CME ที่ปล่อยออกมาจากบริเวณจุดมืด AR4100 เมื่อวันที่ 31 พ.ค.

สนามแม่เหล็กโลกที่ตรวจวัดได้ในประเทศไทยโดยใช้ค่าดัชนี Local K index มีค่าสูงถึง 7 จากระดับสูงสุดที่ 9 สะท้อนถึงการรบกวนของสนามแม่เหล็กโลกในระดับรุนแรงปานกลาง ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบ ได้แก่ การรบกวนของสัญญาณระบบนำร่องผ่านดาวเทียมทำให้ความแม่นยำลดลงชั่วคราว การรบกวนของสัญญาณคลื่นวิทยุความถี่สูง (HF) และการปฏิบัติการของระบบดาวเทียม

สถานการณ์ล่าสุดที่ GISTDA ติดตามผลกระทบพายุสนามแม่เหล็กโลกของประเทศไทย ด้วยข้อมูลเซนเซอร์ของ GISTDA เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 68 พบค่าพายุสนามแม่เหล็กโลกอยู่ที่ระดับ G2 ถึงสูงสุดที่ G3 ช่วงเวลาประมาณ 19:00 น. - 22:00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งไม่ได้เกิดผลกระทบใด ๆ กับประเทศไทย และได้ลดระดับลงมาเรื่อย ๆ จนเข้าสู่สภาวะปกติช่วงเช้าของวันที่ 2 มิ.ย. 68

ทั้งนี้ ในช่วงปี 2568 ยังคงอยู่ในช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะรอบที่ 25 (Solar Cycle 25) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมของดวงอาทิตย์ เช่น การเกิดจุดมืดและการปะทุจะยังคงเกิดขึ้นถี่และรุนแรง

อย่างไรก็ตาม GISTDA จะเฝ้าระวังและติดตามสภาพอวกาศอย่างใกล้ชิด พร้อมรายงานความคืบหน้าและแจ้งเตือนหากเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในระยะต่อไป

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ