เปิดที่มาเพลงชาติไทย กับท่อนเด่น 'ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด'

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เปิดที่มาเพลงชาติไทย กับท่อนที่กลายเป็นประโยคเด่น 'ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด' จากเวอร์ชันไม่เป็นทางการ สู่การเปลี่ยนชื่อ 'สยาม' มาเป็น 'ไทย'

หลังจากที่ กองทัพบก โพสต์เฟซบุ๊กประกาศเชิญชวนคนไทย ร่วมส่งกำลังใจให้ทหารไทยผ่านการติดแฮชแท็ก #ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด พร้อมกันทั่วประเทศ เป็นการส่งแรงใจให้แก่ทหารหาญที่กำลังปฏิบัติภารกิจสำคัญทั้งในและนอกพื้นที่ชายแดนนั้น

เฟซบุ๊กเพจ โบราณนานมา ก็ได้ให้รายละเอียดถึงที่มาของวลี ‘ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด’ โดยระบุว่า มาจากเพลงชาติไทย ที่ประพันธ์คำร้องโดยหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

คอนเทนต์แนะนำ
เช็กกำลังทหารกัมพูชาตรึงชายแดนเกือบ 12,000 นาย-ขนอาวุธหนักเพียบ!
รู้จัก No Man's Land พรมแดนไร้ผู้ครอบครอง ที่หลายแห่งเต็มไปด้วยสงคราม
ทบ.โต้แถลงการณ์กัมพูชา ยันพร้อมปฏิบัติการทางทหารในระดับสูงหากจำเป็น!

เปิดที่มาเพลงชาติไทย กับท่อนเด่น 'ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด' FB/โบราณนานมา
เปิดที่มาเพลงชาติไทย กับท่อนเด่น 'ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด'

โบราณนานมา ระบุว่า ท่อนที่ว่า “...ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด...” มาจากเพลงชาติไทย ซึ่งพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง ส่วนคำร้องประพันธ์โดยหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการใช้เพลง “สรรเสริญพระบารมี” เป็นเพลงถวายความเคารพองค์พระมหากษัตริย์ตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าว

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 คณะราษฎร ได้ประกาศใช้ “เพลงชาติมหาชัย” ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี

ส่วนเนื้อร้องของ “เพลงชาติไทย” นั้น คณะราษฎรได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่งขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท แม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง

ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า

สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา

ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย

.

บางสมัยศัตรูจู่มารบ

ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่

ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท

สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

.

อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย

น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า

เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา

เราจะสามัคคีร่วมมีใจ

.

ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี

ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้

เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย

สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย

แต่ต่อมาในปี 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ทำให้รัฐบาลจัดประกวดคำร้องใหม่ขึ้น (เนื้อเพลง) แต่กำหนดว่าให้ใช้ทำนองตามฉบับเดิมของพระเจนดุริยางค์ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

หลังจากเปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ใน ปี 2482 เพลงชาติไทยฉบับเนื้อร้องปัจจุบัน เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2482 มีเนื้อเพลงดังนี้

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี

.

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

จากเนื้อร้องเพลงชาติข้างต้น ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ได้ให้ความหมายของเนื้อร้องไว้ ดังนี้

 “...ประเทศไทยเป็นถิ่นที่รวมชนผู้มีเลือดเนื้อเชื้อชาติของไทยไว้ให้ได้อยู่อาศัยร่วมกัน แผ่นดินทุกส่วนของประเทศไทยย่อมเป็นของชาวไทยทุกคน ประชาชนไทยรักษาแผ่นดินไทยทั้งหมดไว้ได้ ก็ด้วยทุกคนมีน้ำใจสามัคคี

รักคนไทยด้วยกันและรักประเทศชาติ ชนไทยรักที่จะอยู่สุขสงบ แต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตรูแล้ว คนไทยไม่เคยขลาดกลัวเลย ไม่มีวันยอมให้ศัตรูหน้าไหนมาข่มขู่ทำลายความเป็นอิสระของชาติไทยได้ ทุกคนยอมสละเลือด

ทุกหยดเพื่อชาติไทยอยู่ยั่งยืน จะปกป้องคุ้มครองประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และให้มีแต่ชัยชนะตลอดไป...”

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ