หมอประสิทธิ์ เผยเหตุ 'ผู้ว่าฯสมุทรสาคร' อาการหนัก ห่วงปอดถูกทำลาย จนหายใจเองไม่ได้!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยอาการผู้ว่าฯสมุทรสาคร ดีขึ้นเล็กน้อย ห่วงปอดถูกทำลายมาก กระทบการหายใจหากไร้เครื่องช่วย ชี้โชคดีที่ได้ยาเร็ว ติดตามอาการใกล้ชิด เตรียมแผน 2

ความคืบหน้าอาการป่วยติดเชื้อโควิด-19 ของ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร หลังยืนยันพบเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2563

หมอศิริราช เผยช่วงสำคัญประคอง 'ผู้ว่าฯสมุทรสาคร' ผ่านวิกฤตแม้แสนยากเย็น โควิดทำลายปอด

ผู้ว่าฯสมุทรสาคร พบเชื้อดื้อยา ทำอาการทรุด

"เฝ้าระวัง" อาการผู้ว่าฯสมุทรสาคร 3 วัน

โปรไฟล์ไม่ธรรมดา ผู้ว่าฯสมุทรสาคร "วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี" ความนัยก่อนติดโควิด แม่ทัพร้องไห้ไม่ได...

เมื่อวันที่ 21 มกราคม นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  ระบุถึงอาการของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ว่า 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา อาการการอักเสบของปอด ยังคงให้ยาอยู่  ตอนนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเต็มที่เพื่อให้หลับเต็มที่ ไม่ให้ต้านเครื่องช่วยหายใจ ตอนนี้หายใจอยู่ด้วยเครื่องช่วยหายใจ ต้องให้หลับเนื่องจากให้หลับ ยาที่ให้มีผลต่อระบบทางเดินอาหารตอนนี้อาหารบางส่วนต้องให้เสริมทางเส้นเลือด

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ต้องฉีดยาให้หลับ เพราะไม่ต้องการให้ต้านเครื่องช่วยหายใจ เพราะบางคน รู้ตัวก็จะต้าน รำคาญท่อที่อยู่ในคอ จะพยายามดิ้น จึงต้องฉีดยาให้หลับและคลายกล้ามเนื้อเพื่อช่วยการหายใจได้เต็มที่ หากถอยยาเมื่อไหร่ จะค่อยๆ กลับมารู้ตัว

“โดยทั่วไปก็ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าการติดเชื้อคุมไม่อยู่ ส่วนอื่นๆ ชีพจร ความดันถือว่าดีหมด ไม่ต้องให้ยาช่วยความดันหรือกระตุ้นหัวใจ ปัญหาใหญ่ยังคงเป็นการทำงานของปอด สิ่งที่กำลังคิดหาคำตอบเวลานี้ คือ ตกลงการทำงานของปอดที่เหลืออยู่จะเพียงพอหรือไม่ หากไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ”

“ เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบให้ได้ ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว เราเอาเครื่องช่วยหายใจออก พอเอาออกท่านก็เหนื่อหลังจากที่นอนหงายได้ แต่ท่านเหนื่อย ตราบใดที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ ปัญหาออกซิเจนในเลือดไม่มีแน่นอน แต่หากจะถอดเครื่องช่วยหายใจ ต้องดูว่าตกลงปอดที่เหลือไหวหรือไม่ จะประเมินในส่วนตรงนี้อย่างไร หากไม่ได้ ต้องจัดการอย่างไรต่อ เป็นโจทย์ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม”

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยด้วยว่าอาการของผู้ว่าฯวีระศักดิ์ วันนี้ถือว่า ใกล้เคียงหรือดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เพราะไม่ต้องให้ยาความดันหรือกระตุ้นหัวใจ ก่อนหน้านี้ต้องให้ยาต่ำๆ ตอนนี้ไม่ต้องใช้  หัวใจ ชีพจร ความดัน ปกติ

สำหรับยาปฏิชีวนะให้ไป ดูว่าคุมเชื้อได้หรือไม่ ต้องติดตามว่ามีไข้ขึ้นหรือไม่ การทำงานอวัยวะอื่นกระทบหรือไม่ เพราะหากยาคุมเชื้อไม่อยู่เชื้อจะลามมีผลต่ออวัยวะอื่น แต่ตอนนี้ยังไม่มีข้อบ่งชี้แบบนั้น เพราะฉะนั้น โดยอาการทางคลินิก ถือว่าตอนนี้ยาคุมเชื้อได้อยู่ แต่อยากให้เร็วเพราะไม่อยากให้เชื้อโรคพัฒนาตัวเองให้ดื้อยา แต่ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานแบบนั้น 

นพ.ประสิทธิ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า โควิดทำลายปอดด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้ในโลกรวมถึงประเทศไทย มีคนไข้บางคนที่เข้ามาปอดถูกทำลาย สุดท้ายถอดเครื่องช่วยหายใจไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด หากให้ยาช้า ทั้งนี้ เนื่องจากการระบาดรอบแรก ยังไม่มียา แต่การให้ยาของท่านผู้ว่าฯ ตอนนี้ ถือว่าให้ยาเร็ว แต่ท่านน่าจะได้รับเชื้อเยอะมาก

"ย้อนหลังกลับไปวันศุกร์ท่านยังดีอยู่ วันเสาร์ก็ปกติ และวันอาทิตย์เริ่มไข้ขึ้น ตอนเย็นปอดอักเสบแล้ว แสดงว่าเชื้อในตัวค่อนข้างเยอะ และเชื้อไปจมในปอด จึงเริ่มสตาร์ทยาตั้งแต่วันอาทิตย์เย็น แต่มีบางส่วนที่อาจจะถูกทำลายไป ประกอบกับปัจจัยเรื่องอายุซึ่งปอดไม่ 100เปอร์เซ็น อยู่แล้วตั้งแต่ต้น  ดังนั้น เนื้อปอดเหลืออยู่เท่าไหร่ ต้องประเมินสถานการณ์จากตอนที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ นอนหงาย หายใจได้ดี แต่พอลองเอาเครื่องช่วยหายใจออก ไม่พอ ออกซิเจนตก และเหนื่อย ดังนั้น จึงเกิดคำถามว่าตอนนี้เนื้อปอดที่เหลืออยู่เพียงพอต่อการที่ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือไม่ เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า ว่าสมมติรอบนี้การหายใจที่แย่ลงเกิดจากการติดเชื้อในปอด หลังจากให้ยาปฏิชีวนะไป ฆ่าเชื้อได้ดี ปอดคงจะฟื้นตัวกลับมาได้ ตอนนี้อยากให้เป็นแบบนั้น"

นพ.ประสิทธิ์ บอกด้วยว่า  เผื่อแผนสองไว้ หากไม่ใช่ตามนั้น แสดงว่าตัวเนื้อปอดเองไม่ไหว ก็ต้องคิดวิธีอื่นๆ ตอนนี้ต้องอยู่ในไอซียูเพราะมีเครื่องมือและแพทย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการให้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่การติดเชื้อในปอด ต้องดูไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ และดูจากอาการหากมีไข้แสดงว่าอาจจะไม่ได้ผล แต่ก็ต้องเอ็กซเรย์ปอดร่วมด้วยว่ามีไข้จากสาเหตุอื่นหรือไม่ ปอดเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

เมื่อถามว่าต้องติดตามอาการรายชั่วโมงหรือไม่คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ต้องอยู่ไอซียูเพราะยูสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ตลอด หากปอดเริ่มเคลียร์ ไม่มีไข้ แปลว่าการอักเสบดีขึ้น จะสามารถเอาเสมหะไปตรวจเป็นระยะว่ายังมีเชื้ออยู่หรือไม่ ใช้เหล่านี้ประกอบการตัดสินใจ

"สรุปว่า ตอนนี้ปัญหาที่ยังเป็นห่วง คือ เรื่องปอดว่าเนื้อปอดเป็นอย่างไร และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ต้องดูสถานการณ์เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป"นพ.ประสิทธิ์ กล่าว

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก ของนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ