รู้จักโครงการโคแวกซ์ (COVAX) เสาหลักของการกระจายวัคซีน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




""ไม่มีประเทศใดได้รับการยกเว้น ได้ลัดคิวและฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งหมด ในขณะที่บางประเทศยังไม่มีวัคซีนเลย ถึงเวลาที่จะต้องส่งมอบวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันแล้ว" นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO)

โครงการโคแวกซ์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. ปี 2020 มุ่งสนับสนุนการพัฒนา จัดซื้อ และส่งวัคซีนโควิด-19 ไปยังกว่า 180 ประเทศทั่วโลก โดยมี องค์การอนามัยโลก (WHO)  เป็นผู้นำ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (The Vaccine Alliance หรือ Gavi) ที่ก่อตั้งโดยบิล เกตส์ และภรรยา รวมถึง กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations หรือ Cepi)

รัฐบาลแจงไทย "ตกขบวน" รับวัคซีน โควิด-19 ฟรีจากโครงการโคแวกซ์ (COVAX)

อัปเดตแผนกระจายวัคซีนโควิด-19 ระยะเร่งด่วน

โคแวกซ์ หรือ Covax ย่อมาจาก Covid-19 Vaccines Global Access Facility หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ระดับโลก

เป้าหมายของ โคแวกซ์ มุ่งให้ได้วัคซีนผลิตโควิด-19 ให้ถึง 2,000 ล้านโดสไม่เกินปลายปี 2021 เพื่อป้องกันบุคลากรทางแพทย์ผู้เป็นหน่วยหน้าด่านที่ต้องเผชิญความเสี่ยงมากที่สุด สำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำจนถึงปานกลาง และเมื่อช่วงต้นเดือน ม.ค. นายแพทย์ทีโดรส แถลงว่า WHO ได้ทำสัญญาจัดหาวัคซีนโควิดได้จำนวน 2,000 ล้านโดสแล้ว โดยจะมีการแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 อย่างเท่าเทียมกันระหว่างประเทศร่ำรวยและยากจน

ขณะเดียวกันมี ประเทศที่บริจาคเงินเข้าโครงการโคแวกซ์ (COVAX)  ข้อมูล ณ ต้นเดือน ก.พ.อยู่ที่ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เป้าหมายคือ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปึ 2564 โดยรายชื่อผู้บิรจาค เช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น แคนาดา นอร์เวย์ ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป เป็นต้น

ขณะที่ ประเทศที่อยู่ในลิสต์รายชื่อของโคแวกซ์ (COVAX) จะได้รับวัคซีนคิดเป็นสัดส่วนตามจำนวนประชากร มากที่สุดก็คือ อินเดีย ที่ 97.2 ล้านโดส, ปากีสถาน 17.2 ล้านโดส, ไนจีเรีย 16 ล้านโดส, อินโดนีเซีย 13.7 ล้านโดส, บังกลาเทศ 12.8 ล้านโดส และบราซิล 10.6 ล้านโดส, เอธิโอเปีย 8.9 ล้านโดส, ฟิลิปปินส์ 5.6 ล้านโดส, เม็กซิโก 6.5 ล้านโดส เป็นต้น

ส่วน วัคซีนที่โครงการโคแวกซ์ สั่งซื้อและกระจายในระลอกแรก เป็นวัคซีนจากแอสตราเซนเนกา 240 ล้านโดสซึ่งอนุญาตให้สถาบันเซรุ่มของอินเดียเป็นผู้ผลิต อีก 96 ล้านโดส มาจากการจัดซื้อโดยตรงจากแอสตราเซนเนกา และ ไฟเซอร์/ไบออนเทค อีก 1.2 ล้านโดสจัดซื้อจาก จัดส่งให้กับประเทศเพียง 18 ประเทศช่วงปลายเดือนมีนาคม เช่น โคลอมเบีย, เปรู, ฟิลิปปินส์, แอฟริกาใต้, เกาหลีใต้ และยูเครน ได้รับมากที่สุดชาติละ 1.17 แสนโดส เพราะต้องใช้ตู้แช่แข็งพิเศษสำหรับเก็บรักษาให้อยู่ในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส

ที่มา :  BBC / AFP / WHO  

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ