ชุมชนคลองเตย เปิดวัดสะพาน ทำจุดกักตัวชั่วคราว ก่อนส่งรพ.สนาม
หนุ่มคลองเตยติดโควิด-19 หาเตียงไม่ได้ กักตัวในรถ กลัวแพร่เชื้อชุมชน
กรรมการชุมชนคลองเตย ใช้สายฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อที่ตัวของชาวบ้าน พร้อมให้ชาวบ้านคนนี้ขึ้นนั่งบนหลังรถดับเพลิงของอาสามูลนิธิในชุมชน หลังรับแจ้งว่า ผู้ชายคนนี้ มีอาการหลายอย่างบ่งชี้ว่าอาจติดเชื้อโควิด ทั้ง ตาแดง มีไข้ ไอ รวมถึงมีประวัติเข้าไปเก็บขยะในชุมชน ซึ่งเสี่ยงสัมผัสหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในกองขยะ การพาไปตรวจเชื้อโควิด เป็นมาตรการที่ชุมชนทำขึ้นเอง เพราะ กลัวว่าหากรอหน่วยงานรัฐมาดำเนินการอาจไม่ทัน
ประธานชุมชนคลองเตย ล็อก 1-2-3 เปิดเผยกับทีมข่าวว่า ชาวบ้านคนนี้เคยร้องขอไปตรวจเชื้อหลายวันแล้ว แต่ไม่ได้คิว จนร่างกายเริ่มเผยอาการผิดปกติ ทางชุมชนจึงต้องใช้วิธีนี้เพื่อให้ชาวบ้านได้รับการตรวจหาเชื้อโดยเร็วที่สุด
ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อในชุมชนคลองเตยขณะนี้ เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อจาก 12 ชุมชนย่อยของคลองเตย แล้ว 304 คน กระจายอยู่ในชุมชนแออัด 193 คน และตามคอนโด หอพัก 111 คน
ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อที่ปรากฎนี้ มาจากการตรวจเชิงรุก 3 ครั้ง คือ 27 เมษายน ที่ ชุมชน 70 ไร่ 436 คน ชุมชนริมคลองวัดสะพาน 489 คน และ วันที่ 30 เมษายน ชุมชนพัฒนาใหม่ จำนวน 411 คน แต่ในมุมมองของประธานชุมชนมองว่า การตรวจไม่ได้ประสิทธิภาพ เพราะ แม้พบจะออกมาว่าไม่ติดเชื้อ แต่เมื่อชาวบ้านกลับไปอยู่ร่วมกับคนที่ยังไม่ได้ตรวจหาเชื้อก็อาจติดเชื้อได้อีก
ซึ่งหลังชุมชนคลองเตยพบการระบาดหนักเพิ่มมากขึ้น วันนี้ มีรถพระราชทานเข้าไปตรวจหาเชื้อเชิงรุก ที่วัดสะพาน และมีรายงานว่าจะเข้าไปตรวจต่อเนื่องในวันพรุ่งนี้อีก เพราะ แม้จะเจอผู้ติดเชื้อแล้ว 304 คน แต่ภาพรวมทั้งชุมชนระแวกนี้ ตามข้อมูลของสำนักงานเขตคลองเตย พบว่า มีประชากรรวมกว่า 1 แสนคน
อีกหนึ่งปัญหาที่ทีมข่าว พบ คือ คนในชุมชนคลองเตย ไม่ได้ทำงานอยู่แค่ในเขตคลองเตยเท่านั้น จำนวนไม่น้อยเดินทางข้ามพื้นที่เขต พื้นที่จังหวัดไปทำงานที่อื่น อย่าง ชายคนนี้ เขาเป็น หนึ่งในกรรมการชุมชน ที่ต้องเดินแจกข้าวคนที่กักตัว ต้องคอยดูแลคนที่ติดเชื้อ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไปทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในร จ.ฉะเชิงเทรา แบบเช้าไปเย็นกลับ แม้จะมีรถส่วนตัว แต่ชายคนนี้ยอมรับว่า แต่ละวันก็ต้องเจอกับเพื่อนที่ทำงาน จึงคิดว่าตัวเองอาจเสี่ยงติดเชื้อและแพร่ให้คนอื่น รวมถึงตอนนี้เขาก็ยังไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19ด้วย โชคดีที่ล่าสุด บริษัทมีคำสั่งให้เขาหยุดงาน 14 วัน เพราะ สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ทำให้เขาไม่ต้องไปทำงาน แต่ก็ยังต้องคอยช่วยเหลือดูแลลูกบ้านในชุมชน
แต่ไม่ใช่ชาวบ้านทุกคนที่บริษัทจะให้หยุดงาน เพราะปัจจุบันคนในชุมชนคลองเตยที่ทำงานนอกพื้นที่ ยังเดินทางออกไปทำงานทุกวัน นี่คือสิ่งที่ ประธานชุมชน กังวลว่า หากมีใครติดเชื้อโควิด อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปที่อื่น จึงอยากเสนอให้รัฐบาลประกาศปิดชุมชน งดการเข้าออกและตรวจหาเชื้อเชิงรุกคนในชุมชนทุกคน
พบชุมชุนคลองเตย ติดเชื้อโควิด 10 คน ยังไม่ได้เตียง หวั่นเป็นคลัสเตอร์
ทั้งนี้หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดในคลัสเตอร์คลองเตย ช่วงแรกๆ คือ 2 สัปดาห์ก่อน ที่เริ่มพบผู้ติดเชื้อเป็นคนที่ทำงานในสถานบันเทิงย่านทองหล่อ จากนั้นเชื้อแพร่ระบาดในเขตชุมชน ทีมข่าวพีพีทีวี เคยนำเสนอเรื่องของชายที่ติดโควิดและต้องกักตัวบนรถ เพราะ บ้านมีลูกและภรรยาอยู่ด้วย ตอนนั้น ในพื้นที่มีผู้ติดเชื้อ ประมาณ 8 คน และชุมชนพยายามแยกผู้ติดเชื้อออกจากคนในชุมชน มีการขอให้หน่วยงานรัฐเข้ามาสนับสนุนทั้งเรื่องการเปิดศูนย์พักคอยผู้ติดเชื้อโควิด และ การขอสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ พบว่า ใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะคืบหน้าซึ่งหากเปรียบเทียบกับภาคเอกชนที่เข้ามาช่วยเหลือ พบว่า ทันสถานการณ์มากกว่า
เช่น มีรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ก่อน กรรการชุมชนเคยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งระบบการคัดกรองผู้ติดเชื้อ และ ขอสนับสนุนอุปกรณ์ให้ความรู้คนในชุมชนเพราะช่วยแรก ชาวคลองเตยไม่สวมหน้ากากอนามัย และ ชอบเดินไปดูเวลาทราบข่าวว่ามีคนติดเชื้อที่ไหน รวมถึงมีการเสนอให้ใช้สเตเดี้ยมของการท่าเรือเป็นที่กักตัวกลุ่มเสี่ยง แต่ปรากฎว่าหลายเรื่องที่กรรมการชุมชนขอไป ถูกตอบรับล่าช้า ไม่ทันต่อการแพร่เชื้อในชุมชน
ลุ้นผลตรวจเชิงรุกชุมชนคลองเตยกว่า 1,000 คน
ขณะที่เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา หน่วยกู้ชีพมูลนิธิร่วมกตัญญู รับแจ้งว่าพบ ชายอายุ 58 ปี เสียชีวิตในบ้านพัก ภายในชุมชน 70 ไร่ เขตคลองเตย เป็นการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องสวมชุด PPE นำร่างผู้ตายห่อหุ้มถุงบรรจุเคลื่อนย้ายออกจากบ้านก่อนขึ้นรถส่งไปพิสูจน์สาเหตุการตายที่ นิติเวช รพ.จุฬาฯ หลังนำร่างขึ้นรถ มีการฉีดยาฆ่าเชื้อพื้นที่โดยรอบทันที
สำหรับการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด ในคลัสเตอน์คลองเตย ล่าสุด มีรายงานว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กำลังอยู่ระหว่างการขอวัคซีนเพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยงในชุมชน