เปิดแผนเอกชน นำเข้า “วัคซีนทางเลือก” คาด "โมเนอร์นา" ผ่าน อย. เดือนนี้
คนจองวัคซีน "หมอพร้อม" ทะลุล้านกับความคืบหน้าฉีดวัคซีนโควิดในไทย
นายทักษิณ ระบุว่า การเลือกซื้อวัคซีนของไทย เหตุใดถึงเลือกวัคซีน 2 ยี่ห้อ คือ เอสตราเซเนกา และซิโนแวค ในเมื่อทั้งโลกรู้ว่า ต้องยี่ห้อ ไฟเซอร์ กับ โมเดอร์นา ถ้าในจีนต้องยี่ ซิโนฟาร์ม ก็ไม่รู้ว่าทำไมไทยถึงเลือก 2 ยี่ห้อนี้ และขณะนี้ มีการนำวัคซีนไฟเซอร์ เข้ามาในประเทศไทยแล้ว แต่เอาเข้ามาไม่มาก คงเอามาใช้กับไม่กี่คน เรื่องพวกนี้ ข้อมูลไม่มีอะไรเป็นความลับ
หลังจากอดีตนายกรัฐมนตรีกล่าว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์บนโลกโซลเชียลจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ตั้งข้อสงสัยว่าคำกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นเรื่องจริงหรือไม่
ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 เพียง 3 ยี่ห้อเท่านั้น คือ วัคซีนของบริษัท ซิโนแวค เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2564 ถัดมาขึ้นทะเบียนวัคซีนของ บริษัท แอสตราเซเนกา และล่าสุด คือ วัคซีน ของบริษัท จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ส่วน วัคซีนโมเดอร์นา เตรียมขึ้นทะเบียนภายในเดือน พ.ค.
ขณะที่เว็บไซต์สำนักข่าวสหรัฐฯ นิวยอร์กไทมส์ (New York Times) โดยในส่วนของการติดตามการกระจายวัคซีนโควิดทั่วโลก พบว่า ไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการอนุมัติใช้ วัคซีนไฟเซอร์ แบบฉุกเฉิน รวมถึง วัคซีนโมเดอร์นา
ด้าน นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีเว็บไซต์นิวยอร์กไทม์ ระบุว่า เห็นตอนแรกยอมรับว่าตกใจ เลยเข้าไปอ่านตาม link และได้ใจความว่า มันไม่ได้เป็นภาพของประเทศไหน”ใช้”ไฟเซอร์ แต่ตามเนื้อหาและความเข้าใจผม map นี้หมายถึงประเทศไหน”ขึ้นทะเบียน”ไฟเซอร์”
สีเขียว คือ อนุมัติให้ใช้ สีเหลือง คือ อนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะฉะนั้นประเด็นแอบนำเข้ามาใช้ น่าจะจบเท่านี้ เพราะภาพนี้ไม่น่าจะบอกอะไรเลยเกี่ยวกับการใช้วัคซีน แต่มันจะนำมาสู่คำถามถัดมาว่า “อ้าว ไหนว่า สธ. approve ไปแล้วแค่ 3 ตัว ทำไมในเพจนี้ขึ้นมา 5 ตัว?”
อันนี้ก็ต้องไปตั้งคำถามต่อว่า
1. สธ ปกปิดการขึ้นทะเบียน หรือ
2. เพจของ NY Time และ COVID tracker ใช้ AI ในการทำ map แล้วไปจับมาผิดข่าว เข้าใจว่าขึ้นทะเบียนแล้ว ไฟเซอร์ น่าจะเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุด
อย. ยัน ไม่พบการนำเข้าวัคซีนโควิด “ไฟเซอร์”
ขณะที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการสำนักงานองค์การอาหารและยา (อย.) ยืนยันว่า ขณะนี้วัคชีนโควิด -19 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมีจำนวน 3 ราย ได้แก่ วัคซีนแอสตราเซเนกา, ชิโนแวค รวมถึงวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน สำหรับวัคซีนโมเดิร์นนา ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินคำขอขึ้นทะเบียน และยังมีอีก 2 ราย ที่อยู่ระหว่างทยอยยื่นเอกสารคำขอขึ้นทะเบียนต่อเนื่อง ได้แก่ วัคซีนโควัคซีน และวัคซีนสปุตนิก วี ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ยังไม่มีการยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนกับทาง อย. โดยกระบวนการนำเข้าวัคซีนโควิด ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตนำเข้าและมีทะเบียน รวมทั้งต้องผ่านด่านอาหารและยาเพื่อนำเข้าอย่างถูกต้อง
อย. ยัน ไม่พบการนำเข้าวัคซีนโควิด “ไฟเซอร์”
“ไฟเซอร์” แจง ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ผ่านรัฐบาลไทยเท่านั้น
ล่าสุด บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ออกแถลงการณ์ชี้แจงแสดงจุดยืน ระบุว่า บริษัทฯ มุ่งเน้นการส่งมอบวัคซีนผ่านหน่วยงานรัฐบาลแห่งชาติเท่านั้น และอยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงสาธารณสุขในการจัดหาวัคซีน พร้อมยืนยันว่าไม่เคยนำเข้าวัคซีนโควิดผ่านสำงานในประเทศไทยแต่อย่างใด
“ไฟเซอร์” แจง ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ผ่านรัฐบาลไทยเท่านั้น เผยอยู่ระหว่างหารือ สธ.
ข้อมูลจากกรมควบคุมโลก ณ วันที่ 5 พ.ค. 2564 ประเทศไทยนำเข้าวัคซีนโควิด-19 แล้วทั้วหมด 2.1 ล้านโดส แบ่งเป็น วัคซีนซิโนแวค 2 ล้านโดส และ วัคซีนแอสตราเซเนกา 1 แสนโดส โดยตั้งแต่ช่วงวันที่ 28 – 4 พ.ค. 2564 มีผู้ได้รับวัคซีน ฉีดเข็มที่ 1 สะสม 1,150,564 ราย ฉีดครบเข็มที่ 2 สะสม 442,111 ราย
เนื่องจากมีจำนวนจำกัด กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดสรรให้กับบุคคลกลุ่มเสียงก่อน ได้แก่
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรังระยะ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 เช่น อสม./อสต. ทหาร ตำรวจ จะต้องคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาดสำหรับกลุ่มอื่นๆ ให้รอประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในระยะถัดไปๆ
แต่ย้อนไปดู สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ เคยรายงานเมื่อวันที่ 1เม.ย.64 นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกระทรวงการต่างประเทศ แถลงว่า ปัจจุบัน มีวัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุขไทยได้รับรองและขึ้นทะเบียนกับ WHO หรือ อย. แล้ว 7 บริษัท ได้แก่ วัคซีนของบริษัทชิโนแวค แอสตราเซเนก้า สยามไบโอไซเอนด์ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ไฟเซอร์ Serum Institute of India และ โมเดอร์น่า!!!
รูปภาพ : JUSTIN TALLIS / AFP